ReadyPlanet.com
dot dot
คำฉันท์ (๘)

 คำฉันท์ (๘)

โชติช่วง  นาดอน (ทองแถม นาถจำนง)
 
 
มัทรีคำฉันท์
ก่อนอื่นเชิญอ่าน “วสันตดิลกฉันท์ ๑๔” ฉากชูชกเดินดง ที่ไพเราะมาก กวีเล่นเสียงอักษร แสดงฝีมือเต็มที่ ดังนี้ (สะกดการันต์ตามต้นฉบับดั้งเดิม)
 
๐รอนรอนระวีวรจะดับ   จรลับ ณ เหลี่ยมไศล
แซ่ศัพทเสียงสกุณไพร    ระเร่งร้องระงมเสียง ฯ
 
รอน-รอน-ระ-วี-วะ-ระ
ลับ –เหลี่ยม – ไหล
แซ่ – ศัพ – เสียง – สะ
ระ – เร่ง – ร้อง – ระ
 
บทต่อ ๆ ไปก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน
 
๐ หมู่นกก็นำวิหคฝูง        และประนังมารังเรียง
ริ่วริ่วระเรื่อยสุรสำเนียง    ชะนีโหยละห้อยหวน
พวกผีก็ผิวพจประนัง        สุรศัพทครางครวญ
ส่งเสียงประสานหัดถก็สรวล  ระริกร้องวังเวงไพร
แสรกเสียงสะท้านวนวิเวก   จิตรหวาดก็หวั่นไหว
สากสากสำเนียงสัตวคระไลย จรเที่ยวคะนองเดิน
เย็นเยือกยะเยียบทุกทิศา    หิมะเวศเถื่อนเถิน
ภูตผีโขมดสุรก็เกริ่น        พจนกู่ ตโกนขาน
ฟ้าอับชะอำพรชอุ่ม         ชรอื้อ ณ ดงดาล
พราหมณ์ทึกสท้านกมลมาลย์   ศิรเสียงแสยงขน
เถ้าไปก็ปลอดสรพไภย      บ่มิอาจเอื้อมผจญ
เพื่อเพิ่มบำเพ็ญผลกุศล      สธาท้าวก็โดยดาย ฯ
 
ใครว่าฉันท์มีแต่คำบาลี สันสกฤต อ่านเข้าใจยาก.......
 
ไม่ต้องพึ่งศัพท์แปลยาก ก็แต่งเป็นฉันท์ได้ แถมยังไพเราะมาก บทนี้ “ยอดเยี่ยม” ทั้งรสและอรรถ
 
ฉันท์บทข้างต้น อยู่ในเรื่อง “กุมารคำฉันท์” ที่ข้าพเจ้าเขียนถึงในตอนที่แล้ว กุมารฉันท์ เป็นนิพนธ์ของ “พระองค์เจ้าหญิงมณฑา” กับ “พระองค์เจ้าหญิงอุบล” พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่ง
 
ต่อไปเชิญอ่าน “วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔” อีกบทหนึ่ง 
 
๐ บัดนี้พิบากพิบัติเบียน  สถิตยเสถียรพนมเนิน
ไร้ร้างพลาพลพเอิญ    ทรมานพระกายา ๐
 
บัด-นี้-พิ-บาก-พิ-บัด-ติ-เบียน สะ-ถิด-สเถียน-พะ-นม-เนิน
ไร้-ร้าง-พะ-ลา-พะ-ละ-พะ-เอิน ทะ-ระ-มาน-พระ-กา-ยา
 
กวีเล่นเสียง : พิ-พิ , บาก – บัด – เบียน , สะ-สะ , ถิด – เถียน , นม- เนิน , ไร้-ร้าง , พะ – พะ –พะ , ลา-ละ
 
ต่อไปลองอ่านต่อเนื่องทั้งตอน ฉากนี้บรรยายถึงนางมัทรี ออกเดินตามหากัณหา-ชาลีเนื่องจากพระเวสสันดรไม่ยอมปริปากพูดบอกความจริงว่า ทำทานยกให้พราหมณ์ชูชกไปแล้ว นางมัทรีเดินหาทั้งคืนไม่พบ นางกลับมาสลบไสลที่กุฏิ
 
๐ สุดสิ้นอัสสา สปสาศชายา ทอด องคเอนเอียง 
วิสัญญีภาพ ท่าวทบสลบเพียง
พสุนธราเคียง ต่อเบื้องบาทบงสุ์ ๐
 
พระเวสสันดรเข้าใจว่านางมัทรีสิ้นพระชนม์ จึงโอดครวญขึ้น กวีใช้ “วสันตดิลกฉันท์ ๑๔” บรรยาย ความตอนหนึ่งว่า (โปรดสังเกต การเล่นเสียงและการใช้ศัพท์ง่าย ๆ )
 
๐ บัดนี้พิบากพิบัติเบียน   สถิตยเสถียรพนมเนิน
ไร้ร้างพลาพลพเอิญ     ทรมานพระกายา
เจ้าจงจำนงคจิตรฝาก   พระศพไว้แก่ภรรดา
เรียมไซ้ก็ทนทุกขอนา-   ถจะทำไฉนนาง
ฤาเล่าจะเผาพระนุชไท้  จะฝังไว้ก็ใช่ทาง
ใช่ที่ก็ทรงวิตกพลาง     ดำริหราชฤาวาย
แต่ตั้งจะนั่งทุกขทุขา     ดุจเฝ้าพระศพสาย
สมรกว่าจะโทรมศริรกาย อนิจาพิบากบอง
โอ้เจ้าก็มีคุณจะหา      พธูใดเสมอสอง
สัจสวามิภักดิจิตรปอง    บำเรอรักษโดยหวัง
วงศาจะปลอบก็        บ มิยล ก็มิยินจะอยู่วัง
ผู้เสียสละสมบัติทัง      ขัติยา บ อาไลย
ด่วนโดย บ คิดพิชิตท้าว  ทรมานดำเนิรไพร
เอาเพศเป็นดาบสินิใจ   ปฏิบัติบำรุงเรา
โอ้เจ้ามาถึงมรณใน     บริเวณศิขรเขา
ป่าชัฏสงัดอรจะเอา     เปนป่าช้าพิศาลสถาน ฯ
 
ด้วยบทเรียนที่ข้าพเจ้าหัดแต่งร้อยกรองมาตั้งแต่อายุสิบสาม อ่านวรรณคดีร้อยกรองมาพอสมควร เขียนกวีและแปลกวีจีนขายมาหลายเล่ม ข้าพเจ้าขอใช้กวิตานุมัติ คิดว่า สองชิ้นนี้เป็นบทประพันธ์โดยกวีคนเดียวกัน..........
 
ฉันท์บทหลังนั้น อยู่ในเรื่อง “มัทรีคำฉันท์” ซึ่งระบุไม่ได้ว่า กวีคนใดรจนาไว้
 
แต่.... คำฉันท์มหาชาติชุดนี้ มีพิมพ์เป็นหลักฐานไว้สามกัณฑ์ ได้แก่ กุมารคำฉันท์ , มัทรีคำฉันท์ และ สักกบรรพคำฉันท์ 
 
ทั้งสามเล่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา โปรดให้พิมพ์แจก เรียงลำดับดังนี้ “กุมารคำฉันท์” ปี ๒๔๖๖ , “มัทรีคำฉันท์” ปี ๒๔๖๗ , “สักกบรรพคำฉันท์” ปี ๒๔๖๘
 
“กุมารคำฉันท์” พิมพ์ครั้งที่สองโดยกรมศิลปากร ปี ๒๕๓๙ แต่ “มัทรีคำฉันท์” กับ “สักกบรรพคำฉันท์” ข้าพเจ้ายังไม่เห็นฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ต้นฉบับ “มัทรีคำฉันท์”และ “สักกบรรพคำฉันท์” ที่นำมาเป็นข้อมูลเขียนเรื่องนี้ เป็นหนังสือที่ปู่ของข้าพเจ้า (ขุนนาถจำนง)เก็บสะสมไว้
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ นิพนธ์คำนำหนังสือ “มัทรีคำฉันท์” (พ.ศ ๒๔๖๗) ไว้ดังนี้
 
“คำฉันท์มหาชาติ เข้าใจว่าเห็นจะมีทั้ง ๑๓ กัณฑ์ แต่ที่ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครรวบรวมได้ไว้ยังไม่ครบ สังเกตดูฉบับที่ได้ไว้ สำนวนแต่งดูเหมือนจะแต่งในรัชกาลที่ ๒ ละรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ เป็นสำนวนที่แต่งดีทุกกัณฑ์ แต่หาทราบชื่อผู้แต่งได้หมดไม่ ที่ทราบได้บางกัณฑ์เป็นสำนวนเจ้านายผู้หญิงทรงพระนิพนธ์ก็มี ดังเช่นคำฉันท์กัณฑ์กุมาร ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา ทรงพิมพ์ประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์เมื่อ พ.ศ ๒๔๖๖ ปรากฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ พระองค์เจ้าหญิงอุบล กับพระองค์เจ้าหญิงมณฑาช่วยกันทรงแต่ง 
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา มีพระประสงค์จะทรงพิมพ์หนังสือประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ใน พ.ศ ๒๔๖๗ จึงได้จัดเรื่องมัทรีคำฉันท์พิมพ์ถวายในสมุดเล่มนี้ ต่อจากที่ไดประทานเมื่อปีกลาย”
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอุบล (สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๓)และพระองค์เจ้าหญิงมณฑา (สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๔) ทรงเป็นครูสอนภาษาไทยให้กับเจ้านายฝ่ายใน (สตรี) ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่สี่ พระองค์เจ้านารีรัตนาน่าจะเป็นศิษย์รุ่นปลาย ๆ ของพระองค์เจ้าหญิงมณฑา และเหตุทิ่ทรงเลือกพิมพ์คำฉันท์มหาชาติชุดนี้ ก็อาจจะเนื่องจากทั้งสามเรื่องเป็นพระนิพนธ์ของเจ้านายฝ่ายในที่เป็นพระอาจารย์ของพระองค์ก็เป็นได้
 
ประเด็นนี้ขอฝากให้ศึกษาค้นคว้าต่อไป.



บทความ

คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ