ReadyPlanet.com
dot dot
อยากได้ความรู้ไปหมู่บ้าน อยากได้ปริญญาไปมหาวิทยาลัย

อยากได้ความรู้ไปหมู่บ้าน อยากได้ปริญญาไปมหาวิทยาลัย
โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
คัดคอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม มติชน
ฉบับ 17 ส.ค. 2550 
 
 
อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เล่าเรื่องอยากได้ความรู้ไปหมู่บ้าน อยากได้ปริญญาไปมหาวิทยาลัย ในท้องพระโรง วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550

ปาฐกถาเชิดชูเกียรติยศเนื่องในโอกาสอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชามานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร (ประจำปีการศึกษา 2549) ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ วันที่ 26 กรกฎาคม 2550 

      ผมรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสมากล่าวอะไรในที่นี้ ในโอกาสที่อาจารย์ล้อมได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

      การให้ปริญญาบัตรแก่คนอย่างอาจารย์ล้อมมีนัยสำคัญกับการศึกษาไทยมากทีเดียว เพราะอาจารย์ล้อมเล่าชีวิตของตัวท่านเอง ท่านไม่ใช่เป็นคนที่ไปเรียนหนังสือจนเป็นดอกเตอร์อย่างที่คนซึ่งได้ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ มักจะเป็น แต่ท่านเป็นคนที่เรียนด้วยตนเอง

      ผมอยากจะย้ำในที่นี้ว่าหลังจากที่เรานำเอาการศึกษาแผนตะวันตกเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว การเรียนด้วยตนเองกลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับคุณค่าจากสังคมเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นการที่มหาวิทยาลัยศิลปากรให้ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์แก่อาจารย์ล้อมที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จจากการเรียนด้วยตนเอง ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายพิเศษสำหรับระบบการศึกษาของเรา

      ความรู้ทางเลือก

      อาจารย์ล้อมเห็นความสำคัญของความรู้พื้นบ้าน เห็นความสำคัญของความรู้ที่ชาวบ้านมีอยู่ และสิ่งที่ท่านมีความรู้มาเล่าให้คนอื่นฟังมาอธิบายคนอื่นได้นั้นล้วนแต่มาจากชาวบ้านหรือมาจากความรู้พื้นบ้านทั้งสิ้น

      อาจารย์ล้อมเคยบอกลูกสาวท่านเองว่า ถ้าอยากได้ปริญญาก็ให้ไปมหาวิทยาลัย อยากได้ความรู้ก็ไปหมู่บ้าน ชัดเจนเลยว่าชาวบ้านให้ความรู้แก่ท่าน ความรู้ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อเรารับการศึกษาแผนตะวันตกเข้ามา เราเหยียดมันว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าเท่าไหร่ แล้วก็นำเอาความรู้อะไรไม่ทราบที่มาสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยทุกแห่ง แล้วเห็นว่าความรู้ที่ชาวบ้านมีอยู่เป็นความรู้ที่ไม่มีค่าอะไร การที่อาจารย์ล้อมทำสิ่งเหล่านี้แล้วมหาวิทยาลัยศิลปากรยอมรับ ผมจึงคิดว่ามีความสำคัญมาก

      นอกจากนั้นแล้วผมยังคิดว่าอาจารย์ล้อมเป็นผู้เผยแผ่ความรู้ประเภทที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความรู้ทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแหล่งกำเนิดของสุนทรภู่ก็ตาม เรื่องการคำนวณ วิธีการคำนวณศักราชต่างๆ ก็ตาม เท่าที่พบในจารึก พบในหลักฐานประวัติศาสตร์ ตลอดจนการค้นหารากศัพท์ต่างๆ

      เพิ่งพูดคุยกับท่านมาว่านักภาษาศาสตร์สมัยนี้ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรากศัพท์เท่าไหร่ แต่ว่าคนเก่าๆ อย่างอาจารย์ล้อมจะเห็นความสำคัญของการรู้รากศัพท์แยะมาก ซึ่งผมหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีใครสักคนที่จะเป็นนายทุนให้มีการทำพจนานุกรมรากศัพท์ของไทยซึ่งจะละเอียดถึงขนาดที่บอกได้ว่าคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกประมาณ พ.ศ.อะไร หรือประมาณศตวรรษที่เท่าไหร่ เปลี่ยนความหมายมาในศตวรรษต่อมาไปอย่างไร คือรู้ประวัติของคำแต่ละคำที่ใช้ด้วย

      อย่างนี้เป็นหนทางในการศึกษาวรรณคดีได้ด้วยตนเอง คือไม่ต้องมีครู ทำแบบเดียวกับที่อาจารย์ล้อมทำ ทำให้ความรู้ของเราไม่เป็นมาตรฐานเดียว ความรู้ทางเลือกมันมีความสำคัญมากในสังคมไทย เพราะความรู้ในสังคมไทยมันมีลักษณะเป็นมาตรฐานเดียว เป็นความรู้ประเภทอะไรถูกอะไรผิด ผิดอย่างนี้ไปแล้วเป็นใช้ไม่ได้เป็นผิดหมดเป็นตกหมด แต่อาจารย์ล้อมเป็นหนึ่งในบรรดานักวิชาการจำนวนน้อยในสังคมนี้ที่พยายามจะสถาปนาความรู้ทางเลือก คือรู้ไม่เหมือนกับที่คนอื่นที่รู้มา แล้วสามารถพิสูจน์ด้วยหลักฐานด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ให้เห็นว่าจะรู้อย่างนี้ก็ได้เป็นความถูกต้องอีกอย่างหนึ่ง

 
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปาฐกถาเชิดชูเกียรติยศอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เป็นผู้สถาปนาความรู้ทางเลือก

 ความรู้คืออำนาจ

      พวกเราทุกคนในที่นี้เคยได้ยินภาษิตที่ชอบอ้างกันตั้งแต่สมัยที่เชื่อว่าตัวเองอยู่ในโลกาภิวัตน์ เรื่องความรู้คืออำนาจ คำคำนี้เวลาเอามาใช้ในภาษาไทยเรามักจะเข้าใจว่าความรู้หมายถึงความรู้อะไรที่มันหยุดนิ่งอยู่กับที่ คล้ายความรู้มันลอยอยู่ในอากาศ ใครไปคว้าสิ่งที่เป็นความรู้ที่ลอยอยู่ในอากาศมาไว้ในกระเป๋าได้มากที่สุดคนนั้นมีอำนาจ

      แต่ผมกำลังจะบอกว่าความหมายอีกอย่างหนึ่งและผมคิดว่าเป็นความหมายเดิมจริงๆ ของมันไม่ได้หมายถึงความรู้ที่มันลอยในอากาศแล้วไปไขว่คว้ามาไว้กับตัว หมายถึงว่าใครเป็นผู้สถาปนา ใครเป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือความรู้คนคนนั้นมีอำนาจ หมายความว่าเมื่อตอนที่เราเรียนทฤษฎีสัมพันธภาพ เราคิดว่าทฤษฎีสัมพันธภาพเป็นความรู้ แต่เราไม่ได้คิดว่าการเลี้ยงควายเป็นความรู้ ฉะนั้นใครที่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงควายจึงไม่มีอำนาจ ในขณะที่ใครมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพันธภาพคือผู้ที่มีอำนาจ

      ที่ผมพูดอย่างนี้เพื่อจะบอกว่าความว่าความรู้มันลอยอยู่เฉยๆ เราที่อยู่ข้างล่างนี้ต่างหากที่เป็นผู้กำหนดว่าอะไรเป็นความรู้และอะไรไม่ใช่ความรู้ ตัวอย่างที่ทุกคนเห็นได้ชัดเจน สิ่งที่ผู้หญิงไทยมีความรู้ การกวาดบ้าน ถูเรือน เลี้ยงเด็ก ซักผ้า ทั้งหมดเหล่านี้ถูกถือว่าไม่ใช่ความรู้ จึงไม่มีคุณค่า และใครที่รู้สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่มีอำนาจ ในขณะที่ผู้ชายรู้วิธีการคิดเลขของธนาคารจึงไปทำงานในธนาคาร คนคนนั้นมีอำนาจในบ้าน แต่คนกวาดบ้านจะไม่มีอำนาจในบ้านเลยเพราะว่ามันไม่มีความรู้อะไรที่ถือได้ว่าเป็นความรู้ เพราะฉะนั้นคำว่าความรู้คืออำนาจคือสิ่งนี้

      ผมคิดว่าสิ่งที่อาจารย์ล้อมทำนั้นมีความสำคัญ คือพยายามจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ชาวบ้านเขามีอยู่ สิ่งที่มันเป็นความรู้พื้นบ้าน นั่นแหละคือความรู้ ถ้าเรายอมรับสิ่งนี้ก็เท่ากับเรายอมรับว่าชาวบ้านและคนที่มีความรู้พื้นบ้านพึงมีอำนาจและย่อมอำนาจ ไม่ใช่ยอมรับกันเพียงแต่นักกฎหมายเพียงอย่างเดียวที่จะเป็นคนมีอำนาจได้

      เพราะฉะนั้นในแง่นี้ ผมคิดว่าการให้ปริญญาบัตรแก่อาจารย์ล้อมจึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงในทรรศนะของผมอย่างค่อนข้างมาก เป็นสิ่งที่ท้าทายข้อสรุปทางการศึกษาที่เราทำมาเป็นเวลานาน ประหนึ่งว่าเป็นของตายตัวอย่างนี้เปลี่ยนไม่ได้ แต่การที่ตัดสินใจให้ปริญญาบัตรแก่อาจารย์ล้อมเป็นการท้าทายระบบความรู้ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ดำรงสืบต่อมาเป็นเวลานานมาก

 
ผู้ร่วมงานเชิดชูเกียรติอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ในท้องพระโรง วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 มานุษยวิทยา

      ว่าเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยาโดยคนที่ไม่เคยเรียนมานุษยวิทยาเลย ผมเข้าใจว่างานส่วนใหญ่ของอาจารย์ล้อมอาจจะนิยามว่าเป็นมานุษยวิทยาได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นแต่ด้านชาติพันธุ์วรรณนา

      แต่ถ้าอย่าไปดูไอ้ตัวมานุษยวิทยาในความหมายที่เป็นทางการแบบตายตัว แบบที่นักวิชาการชอบนิยามก็จะพบได้อย่างหนึ่งว่างานของอาจารย์ล้อมทั้งหมดนี่จะให้ความสำคัญแก่ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมเสมอ เช่น จะอธิบายศัพท์เพียงตัวเดียว ก็ไม่ได้อธิบายจากตัววรรณคดีอย่างเดียว แต่จะอธิบายว่าศัพท์ตัวนี้มันมีความหมายอย่างนี้ และเขาใช้กันในท่ามกลางระบบสังคมแบบนี้ เพราะฉะนั้นในแง่นี้ผมคิดว่าอาจารย์ล้อมเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญแก่วิชามานุษยวิทยาอย่างค่อนข้างมากทีเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับนักวิชาการทั่วๆ ไป

      คราวนี้นักมานุษยวิทยาไทยหลังจากท่านอาจารย์เจ้าคุณอนุมานราชธน และศิษย์ของท่านแล้ว ถามว่าบทบาทของวิชามานุษยวิทยาไทยเป็นอย่างไร ผมคิดว่าบทบาทที่สำคัญของวิชามานุษยวิทยาไทยในปัจจุบันนี้หลังจากท่านเจ้าคุณอนุมานฯกับศิษย์ของท่านแล้วคือการพยายามจะให้อำนาจแก่คนไร้อำนาจด้วยการนำเอาเรื่องราวของเขามาศึกษาวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเขา ชี้เห็นถึงงานที่ศึกษาเกี่ยวกับคนไร้บ้าน คุณอ่านแล้ว (คนนอกที่ไม่ใช่นักมานุษยวิทยา) สิ่งแรกที่รู้สึกทันทีคุณกำลังพูดถึงคนซึ่งเหมือนกับเราอย่างนี้มีความต้องการในชีวิตพื้นฐานเหมือนกับเรา ต้องการความมั่นคงด้านอาหาร ต้องการอื่นๆ ร้อยแปด และสร้างกลวิธีที่มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีบ้าน เพราะฉะนั้นในแง่นี้ผมคิดว่ามันทำให้คนทั่วๆ ไปรู้สึกถึงอำนาจของคนที่ไร้อำนาจ ในแง่นี้ผมคิดว่าวิชามานุษยวิทยาหลังจากที่ท่านเจ้าคุณอนุมานฯกับศิษย์ของท่านแล้ว ก็คือการให้อำนาจแก่คนที่ไร้อำนาจ เช่นชาวบ้าน

      การศึกษามานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่องชาวบ้านที่ครั้งหนึ่งถูกละเลยไม่มีใครสนใจเลยทุกคนศึกษางานวัฒนธรรมก็หันไปดูพระราชพิธี 12 เดือน แต่เพียงอย่างเดียวประหนึ่งว่าพระราชพิธี 12 เดือนเท่านั้นคือวัฒนธรรมไทย ไอ้ที่มันเลี้ยงควายอยู่มันไม่เกี่ยว แต่ว่านักมานุษยวิทยารุ่นหลังผมว่าพยายามดึงเอาวัฒนธรรมของคนเลี้ยงควาย ของโจร ของใครต่อใครก็แล้วแต่ขึ้นมาเล่าให้ฟัง

      มีงานศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงแยะมาก มีงานศึกษาเกี่ยวกับคนเร่ร่อน มีงานศึกษาเกี่ยวกับคนกลุ่มน้อย ทั้งหมดเหล่านี้คือคนไร้อำนาจ เพราะฉะนั้นในแง่นี้ผมคิดว่างานมานุษยวิทยาถ้าจะเรียกมันว่าอย่างนั้นของอาจารย์ล้อมก็อยู่ในแนวโน้มเดียวกันกับงานมานุษยวิทยาสมัยใหม่ของไทยโดยทั่วๆ ไป โดยพยายามที่จะให้ความสำคัญแก่คนไร้อำนาจทั้งหลาย พูดถึงความรู้ของชาวบ้าน พูดถึงความรู้พื้นถิ่น พูดถึงศัพท์แสงวิถีชีวิตของชาวบ้านว่ามันเป็นความรู้เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจมัน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถอ่านวรรณคดีชาวบ้านหรือแม้แต่วรรณคดีหลวงด้วยซ้ำไปเข้าใจได้ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีทางเข้าใจภาษิต คำกล่าว ความเชื่อ ของชาวบ้านโดยทั่วๆ ไปได้ ในแง่นี้ผมคิดว่าก็เป็นการนำเอาคติ ความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิต การทำมาหากินอะไรก็แล้วแต่ของคนไร้อำนาจโดยเฉพาะชาวบ้านในเมืองไทยมาเสนอให้เป็นความรู้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่คนเหล่านั้นเหมือนกัน

      วิชามานุษยวิทยาก็เหมือนกับวิชาทั้งหลายในโลก คือนอกจากทำหน้าที่ในการอธิบายอะไรในทางวิชาการแล้ว ผมคิดว่ามันมีหน้าที่ในการจะเชื่อมโยงความรู้ของตนเองเข้ากับความรู้ของชาวบ้านความรู้ของประชาชนธรรมดาทั่วๆ ไปด้วย ถ้าเมื่อไหร่คุณหยิบหนังสือวิชาการเล่มใดก็แล้วแต่เปิดอ่านตั้งแต่หน้า 1 ถึงหน้า 100 แล้วยังไม่รู้เลยว่ามันพูดอะไร เมื่อนั้นผมคิดว่าไอ้งานวิชาการชิ้นนั้นมันอาจจะมีคุณค่าอย่างสูงแก่นักวิชาการ แต่มันมีคุณค่าแก่สังคมน้อยมาก

      ในแง่นี้ถ้ามานุษยวิทยาเป็นแต่เพียงการอธิบายทฤษฎีฝรั่งยืดยาวทั้งเล่ม แล้วไม่เห็นมันเกี่ยวกับสังคมไทยตรงไหน มันอาจจะดีมาก แต่ว่ามันไม่ได้ทำหน้าที่ในทางวิชาการที่มีความสำคัญ แล้วผมคิดว่าตรงนี้งานของอาจารย์ล้อมมีความสำคัญในแง่ที่ว่าท่านนำเอาความรู้เหล่านั้นมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งที่ชาวบ้านสามารถตามรู้ รู้เท่าทันได้

      อ่านงานของอาจารย์ล้อมไม่มีใครที่จะต้องมีปริญญาเอกถึงจะอ่านรู้เรื่องสักหน่อย คุณจบอ่านภาษาไทยออกเมื่อไหร่คุณอ่านงานของอาจารย์ล้อมได้รู้เรื่องทั้งนั้น จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอีกเรื่องหนึ่ง แต่รู้เรื่องทั้งนั้น

      ผมว่าหน้าที่ตรงนี้บางทีนักวิชาการที่เริ่มจะกลายเป็นตะวันตกมากขึ้นๆ เพราะเรียนหนังสือกับฝรั่งมากขึ้นๆ บางทีมันลืมไปว่าคุณต้องสื่อสารกับคนในสังคมคุณเอง คุณต้องทำความรู้เหล่านั้นสื่อสารความรู้ที่คุณมีกับคนในสังคมของคุณเอง

      ผมจึงขอแสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ได้ตัดสินใจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่อาจารย์ล้อมในครั้งนี้ เพราะว่าไม่ใช่เป็นการให้ปริญญาบัตรกับคนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้ไปเกาะกับคนที่มีชื่อเสียงและอำนาจแต่เพียงอย่างเดียว แต่การให้ปริญญาบัตรในครั้งนี้เป็นการประกาศจุดยืนใหม่ในทางวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย

      อย่าลืมว่าการให้ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์แก่ใครก็ตาม จริงๆ มันมีข่าวสารอยู่ภายในนั้นด้วย อันนี้ผมไม่พูดถึงการให้ปริญญาบัตรเมื่อเวลามีแขกต่างประเทศเดินทางมาแล้วก็ผลัดกันมอบให้ แต่การที่คุณเลือกให้ปริญญาบัตรแก่ใคร นอกจากเป็นการให้ปริญญาบัตรแล้วมันยังมีข่าวสารว่าคุณคิดว่าอะไรสำคัญในโลกนี้ อะไรสำคัญสำหรับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแสดงออกมาในการให้ด้วย

      ข่าวสารตรงนี้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ค่อยคิด สักแต่ให้เรื่อยๆ แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ เป็นการให้ที่มีความสำคัญ ผมคิดว่าเป็นการประกาศจุดยืนใหม่ในวงวิชาการของประเทศไทย




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ