ReadyPlanet.com
dot dot
ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ

ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ
จาก ภูมิสังคมวัฒนธรรม มติชน ศ. 24 ส.ค.50


สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกภูมิภาคอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่โบราณกาลราว 2,000 ปีมาแล้ว หมายถึงดินแดนที่มีพัฒนาการของบ้านเมืองบนพื้นฐานของความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Groups) ที่มีความหลากหลายทั้งภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางสังคมและวัฒนธรรม จนอาจกล่าวได้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภูมิภาคนี้ก็คือบรรพชนทางวัฒนธรมของคนไทยในทุกวันนี้ด้วย ดังหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ล้วนชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในภูมิภาคนี้ได้มีการติดต่อ แลกเปลี่ยน สังสรรค์กันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ยังไม่มีการเกิดขึ้นของรัฐชาติ และเส้นแบ่งเขตแดนออกเป็นประเทศต่างๆ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน


(บน) ม้อย คนพื้นเมืองดั้งเดิม บริเวณพรมแดนลาว-เวียดนาม ลายเส้นฝีมือชาวยุโรป (ซ้ายล่าง) คนพื้นเมืองสองฝั่งโขง ที่ถูกเรียกว่า ข่า (ขวาล่าง) คนพื้นเมืองถูกเรียกว่า "นาค" ที่เกาะนาควารี ถิ่นคนเปลือย คือพวกนาคอยู่กลางทะเลอันดามัน ในแผนที่ไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการพยายามปรับเปลี่ยนประเทศให้เป็นตะวันตก เช่น การสร้างความเป็นชาติที่เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และได้พัฒนาเป็นกระแสความรู้สึกชาตินิยมในสมัยต่อมา ได้ถูกยกมาเป็นแกนในการสร้างสำนึกให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประเทศไทยเกิดมีพัฒนาการและเป็นแผ่นดินที่อยู่ของประชากรที่เป็นคนเชื้อชาติไทยมาแต่เดิม ทำให้สังคมไทยขาดความสนใจไยดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เคยมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบ้านเมืองมาตลอด


(บน) คนกำลังทำพิธีกรรมเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ลายเส้นบนหน้ากลองมโหระทึกพบที่เวียดนาม ล้วนเป็นบรรพบุรุษเครือญาติชาติพันธุ์และชาติภาษาของคนอุษาคเนย์ทุกวันนี้ (ล่าง) ม้อย กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมในเวียดนาม ภาพนี้เป็นแถวรับเสด็จรัชกาลที่ 7 เสด็จเวียดนามเมื่อปี พ.ศ.2473

ปัญหาการขาดความเข้าใจและการรับรู้อย่างผิดๆ เกี่ยวกับพื้นภูมิของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ได้กลายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบทั้งต่อบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างให้กลายเป็นชนส่วนน้อยที่ด้อยโอกาสในทุกๆ ด้าน ทั้งในแง่การต้องสูญเสียอัตลักษณ์ ปัญหาคนพลัดถิ่น ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ และต่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของผู้คนทั้งประเทศ ดังที่ปรากฏเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งระหว่างกลุ่มชน และความขัดแย้งที่มีต่อรัฐชาติอยู่ขณะนี้

ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าสังคมไทยได้นำความรังเกียจเดียดฉันท์ การแบ่งพรรคพวกอย่างรุนแรง และการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมต่อประชาชนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในสังคมไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนด้อยของความเข้าใจและการขาดความรับรู้เรื่องราวที่ถูกต้องของกลุ่มชาติพันุธ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายในภูมิภาคนี้

การจัดสัมมนานานาชาติครั้งนี้ นอกจากเป็นเวทีให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้นำเสนอและถ่ายทอดตัวตนของตนเอง รวมถึงปัญหาตามสถานการณ์ที่เผชิญอยู่แล้ว ยังเป็นโอกาสให้นักวิชาการที่สนใจปัญหาเหล่านี้ ได้พบปะ แลกเปลี่ยน เสนอและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจและการมีมุมมองที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เกิดความรับรู้ที่สร้างสรรค์ ทั้งยังส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรม และการธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในด้านวิชาการและแนวทางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาที่ละเอียดอ่อนดังกล่าวอย่างปราศจากอคติ
 

กลุ่มชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิสมัยก่อนล้วนเป็นบรรพชนคนไทยและคนอื่นๆ ในอุษาคเนย์ที่มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ

เครือญาติชาติพันธุ์และชาติภาษา

จากหนังสือสุวรรณภูมิ ต้นกระแสประวัติศาสตร์ไทย
ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
สำนักพิมพ์มติชน รวมพิมพ์ครั้งแรก 2549

คนสุวรรณภูมิ มีบรรพบุรุษคือมนุษย์อุษาคเนย์ที่เป็นเจ้าของซากอวัยวะ เช่น โครงกระดูก และเป็นเจ้าของวัฒนธรรมที่เหลือซากสิ่งของต่างๆ เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา โลหะ ฯลฯ เหล่านั้น อาจจำแนกได้เป็นอย่างน้อย 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คนที่สืบมาตั้งแต่ยุค "แผ่นดินซุนดา" นับแสนปีมาแล้ว กับคนที่เคลื่อนย้ายจากที่หลายแห่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่ยุค "โลหปฏิวัติ" ราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว

คนทั้งหมดล้วนเป็นบรรพบุรุษของคนปัจจุบัน

ยุคนั้นยังไม่มี "ชาติ" ทางการเมืองอย่างทุกวันนี้ และยังไม่มีชื่อสมมุติอย่างปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงความแตกต่างบางประการ คือ ภาษา ที่แม้จะเป็น "เครือญาติ" มีรากเหง้าเดียวกัน แต่จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เรียก "ตระกูลภาษา" ได้ราว 5 ตระกูล ดังนี้

1.ตระกูลมอญ-เขมร หรือออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language family) เช่น พวกมอญ เขมร ลัวะ ละว้า และบรรดากลุ่มที่คนอื่นๆ เรียกอย่างดูถูกว่า ข่า ส่วย ม้อย ฯลฯ แยกเป็นภาษาหลักและภาษาถิ่นย่อยๆ อีกมาก ล้วนมีหลักแหล่งดั้งเดิมบนผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์

2.ตระกูลชวา-มลายู หรือออสโตรนีเซียน หรือมาลาโยโพลินีเซียน (Austronesian or Malayo-Polynesian Language family) เช่น พวกชวาและหมู่เกาะอินโดนีเซีย มลายู จาม ฯลฯ มีหลักแหล่งตามชายฝั่งและหมู่เกาะทางตอนใต้ของอุษาคเนย์ รวมทั้งมอเก็นหรือ "ชาวเล" และ "เงาะ"

3.ตระกูลไทย-ลาว (Tai-Lao Language family) เช่น พวกไทย ลาว จ้วง หลี อาหม ฯลฯ มีหลักแหล่งทั้งหุบเขาและทุ่งราบบนผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์ บริเวณตะวันออก-ตะวันตกสองฝั่งโขง

4.ตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan Language family) เช่น กะเหรี่ยง อะข่า (อีก้อ) ปะดอง ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีพวกพม่า-ทิเบตด้วย

5.ตระกูลม้ง-เมี่ยน หรือแม้ว-เย้า (Hmong-Mien or Miao-Yao Language family) เช่น ม้ง (แม้ว) เมี่ยน (เย้า) มีหลักแหล่งอยู่บนดอยสูงทางตอนเหนือของผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์

คนทั้ง 5 พวกนี้ล้วนเป็น "เครือญาติ" กันหมดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เครือญาติชาติพันธุ์ เครือญาติทางภาษา เป็นต้น ดังนิทานกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุง มีคน 5 จำพวกด้วย

 

"นาค" คือคนพื้นเมือง เปลือยเปล่าเหมือนงู

ชาวชมพูทวีป (หรืออินเดีย) ที่เอาศาสนาและอารยธรรมเข้ามาเผยแผ่ให้ชาวสุวรรณภูมิเลือกรับไว้ เรียกคนพื้นเมืองด้วยคำอารยันว่านาค หมายถึงเปลือย หรือแก้ผ้า เพราะเห็นคนพื้นเมืองมีเครื่องนุ่งห่มน้อยชิ้นจนเกือบเปลือยเปล่าเหมือนงูเงี้ยวที่เป็นสัตว์ร้ายทั่วไป




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ