ReadyPlanet.com
dot dot
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...

ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ตีดาบ(ฟ้าฟื้น) ซื้อม้า(สีหมอก) ผ่าท้อง(นางบัวคลี่) หากุมาร(ทอง) ปรับปรุงจากหนังสือขุนช้างขุนแผนแสนสนุก

สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2545

 

            ในบรรดากวียุคต้นกรุงเทพฯ ผู้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วยกันแล้ว ดูเหมือนชื่อครูแจ้งจะเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดว่ามีกวีโวหารโลดโผนและหยาบคาย

            ครูแจ้งแต่งเสภาไว้หลายตอน แต่ตอนขุนแผนตีดาบซื้อม้าหากุมารทองที่มีฉากผ่าท้องนางบัวคลี่ก็เป็นที่เลื่องลือชื่อกระฉ่อน เพราะแต่งได้สยดสยองพองขนยิ่งนัก

            แต่บทเสภาตอนที่ว่านี้มีปัญหาคาใจผู้อ่าน เพราะฉบับที่พิมพ์เป็นเล่มแพร่หลายอยู่นี้ถูกสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง "ชำระ" จนสะอาดหมดจดหมดราคีคาว ไม่โลดโผนและไม่หยาบคายอย่างที่รู้ๆ กัน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าต้นฉบับเดิมของครูแจ้งแต่งไว้มีเนื้อความแท้ๆ ว่าอย่างไร? ชวนให้อยากอ่านฉบับเดิมแท้ๆ ก่อนถูกตัดและดัดแปลง

            แต่ก็ไม่ได้อ่าน เพราะนับแต่ พ.ศ.2461 ที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง "ชำระ" และมีการพิมพ์เผยแพร่เป็นเล่ม จนถึง พ.ศ.2545 เป็นเวลาราว 84 ปี แล้ว สาธารณชนคนทั่วไปไม่ได้อ่าน และหาอ่านไม่ได้ เพราะหน่วยราชการที่ดูแลต้นฉบับไม่อนุญาตให้ใครอ่าน โดยเขียนป้ายปะหน้าสมุดไทยว่าห้ามบริการ และไม่พิมพ์มาให้อ่าน

            โชคดีที่มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 ทำให้ได้อ่านสำเนาต้นฉบับเดิมของครูแจ้ง ตอนตีดาบซื้อม้าหากุมาร (ไม่ได้อ่านต้นฉบับจริงที่เขียนลงสมุดไทย)

 

            ครูแจ้ง อยู่วัดระฆัง

            ร่วมสมัยสุนทรภู่ มีครูเสภาคนสำคัญอีกท่านหนึ่ง ชื่อ "ครูแจ้ง"

            กลอนไหว้ครูเสภา-ปี่พาทย์ ออกชื่อครูต่างๆ และมีชื่อครูแจ้งว่า "อีกครูแจ้งแต่งอักษรขจรลือ ครูอ่อนว่าพิมระบือชื่อขจร" และเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนทำศพนางวันทอง มีการละเล่นต่างๆ ยังออกชื่อครูแจ้งไว้ด้วยว่า

 

            นายแจ้งก็มาเล่นเต้นปรบไก่             ยกไหล่ใส่ทำนองร้องฉ่าฉ่า

            รำแต้แก้ไขกับยายมา                     เฮฮาครื้นครั่นสนั่นไป

 

            สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ "ตำนานเสภา" แล้วทรงมีรับสั่งเรื่องครูแจ้งเอาไว้มากที่สุดว่า

"เป็นครูเสภาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รุ่นหลัง มีอายุอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ 5 บ้านอยู่หลังวัดระฆังฯ แต่เดิมมีชื่อเสียงในการเล่นเพลง ถึงอ้างชื่อไว้ในบทเสภาตอนทำศพวันทองว่าหานายแจ้งมาว่าเพลงกับยายมา คือครูแจ้งคนนี้เอง มีเรื่องเล่ากันมาว่าครูแจ้งกับยายมานี้ เป็นคนเพลงที่เลื่องลือกันในรัชกาลที่ 3 อยู่มาไปเล่นเพลงครั้งหนึ่ง ยายมาด่าถึงมารดาครูแจ้งด้วยข้อความอย่างไรอย่างหนึ่ง ซึ่งครูแจ้งแก้ไม่ตก ขัดใจจึงเลิกเพลงหันมาเล่นเสภา และเป็นนักสวดด้วย ได้แต่งเสภาไว้หลายตอน...ด้วยแต่งกลอนดี แต่กระเดียดจะหยาบ เห็นจะเป็นเพราะเคยเล่นเพลงปรบไก่ ถึงลำสวด ที่สวดกันมาในชั้นหลัง ว่าเป็นลำของครูแจ้งประดิษฐ์ขึ้นก็มี จึงนับว่าครูแจ้งเป็นครูเสภาสำคัญอีกคนหนึ่ง”

            ประวัติส่วนตัวครูแจ้งมีเท่านี้เอง ไม่มีหลักฐานว่าบิดามารดาคือใคร? เกิดเมื่อไร? เกิดที่ไหน? ตายเมื่อไร? รู้แต่ว่า "มีอายุอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ 5" ซึ่งอาจ "เดา" ว่าเป็นคนเกิดทีหลังสุนทรภู่ (เพราะสุนทรภู่ถึงแก่กรรมเมื่อต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 4)

การที่สุนทรภู่ไม่ออกชื่อครูแจ้งไว้เป็น 1 ใน 6 ในบทเสภาตอนกำเนิดพลายงาม แสดงว่าในแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ครูแจ้งยังเยาว์ หรือยังไม่มีชื่อเสียง หรือยังไม่ขับเสภาก็ได้ทั้งนั้น แต่เมื่อถึงรัชกาลที่ 3 ครูแจ้งมีชื่อเสียงแล้ว แต่มีทางเล่นเพลงปรบไก่กับยายมา ซึ่งเป็นตอนที่สุนทรภู่ออกบวชหนีราชภัย แล้วมักจาริกแสวงบุญไปที่ต่างๆ นอกพระนคร

 

            "เสภาต้องห้าม" สำนวนครูแจ้ง

            เชื่อกันว่าครูแจ้งหันมาเอาดีทางเสภา เมื่อช่วงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 3 แล้วมีชื่อเสียงทางแต่งเสภาในแผ่นดินรัชกาลที่ 4

            หอสมุดแห่งชาติมีบทเสภาสำนวนครูแจ้งคัดเป็นตัวพิมพ์ดีดไว้รวมด้วยกัน 5 ตอน คือ ตอนกำเนิดกุมารทอง, ตอนขุนแผนพลายงามตีเมืองเชียงใหม่แก้พระท้ายน้ำ, ตอนแต่งงานพระไวย, ตอนพระไวยต้องเสน่ห์ และตอนเถรขวาด ในคราวชำระบทเสภาฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ได้เลือกสำนวนบทเสภาของครูแจ้งมาพิมพ์ไว้แทนสำนวนอื่นก็หลายตอน เช่น ตอนกำเนิดกุมารทอง, ตอนขุนแผนพลายงาม ตีเมืองเชียงใหม่ และตอนเถรขวาด (คำอธิบายของกรมศิลปากร ในหนังสือบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนแต่งงานพระไวย (สำนวนครูแจ้ง), ราชบัณฑิตยสถานพิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดสังเวชวิศยาราม, เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2478-แล้วมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า

            "บทเสภาสำนวนครูแจ้ง แม้จะปรากฏว่าข้อความในบางบาทของบทกลอน มีคำมากกว่าปกติกระทำให้ฟังเยิ่นเย้อออกไปก็ดี แต่การพิมพ์คงให้รักษาของเดิมไว้ตามต้นฉบับที่มีอยู่ ไม่ได้แก้ไขตัดทอน เพราะเห็นว่ากลอนเสภาย่อมแต่งไว้สำหรับขับร้อง ผู้ขับร้องอาจเอื้อนเสียงทำทำนองให้เข้ากับจังหวะฟังเพราะได้ เพราะฉะนั้นความสำคัญของกลอนเสภาจึงอยู่ที่ทำนองขับ ไม่ได้อยู่ที่อ่านกันตามธรรมดา"

เสภาตอนกำเนิดกุมารทองที่เป็นสำนวนครูแจ้งนี้ พวกเสภาชอบขับกันแพร่หลาย เพราะลีลาโลดโผนและมีภูตผีอิทธิปาฏิหาริย์มาเกี่ยวข้อง สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบาย (เมื่อ พ.ศ.2460) ว่า

            "เนื้อเรื่องเสภาตอนนี้ตามหนังสือบทเดิมว่าขุนแผนไปเที่ยวหาโหงพรายตามป่าช้า ไปพบผีตายทั้งกลมชื่ออีมากับอีเพชรคง ขุนแผนจึงขอลูกในท้องมาเลี้ยงเป็นกุมารทอง ความเดิมสั้นเพียง 4 หน้ากระดาษ ครูแจ้งเอามาขยายความ ผูกเรื่องให้ขุนแผนไปได้นางบัวคลี่อยู่กินด้วยกันจนมีครรภ์ แล้วเกิดเหตุนางบัวคลี่ตายทั้งกลม ขุนแผนจึงได้กุมารทองมา ว่าโดยย่อให้กุมารทองเป็นลูกขุนแผนจริงๆ..."

            สมเด็จฯทรงเห็นว่าเรื่องกุมารทองนี้สำนวนครูแจ้งดีกว่าของเดิม จึงเอาสำนวนครูแจ้งลงพิมพ์ในหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน (ฉบับที่อ่านกันอยู่ทุกวันนี้) มีฉากผ่าท้องนางบัวคลี่เอากุมารทอง ถ้าได้ฟังคนเสภาตีกรับขับเสภาเต็มกระบวนจะถึงใจพระเดชพระคุณยิ่งนัก คนสมัยใหม่อาจจะบอกว่าฉากผ่าท้องย่างกุมารนี้มีอาการ "ซาดิสม์" ก็ได้

            สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีรับสั่งไว้ในคำอธิบายอีกว่า ครูแจ้งแต่งเสภาดีเมื่อถึงตอนสะท้อนชีวิตนิสัยใจคอคนสามัญ แต่ "ถ้ามีโอกาสมักจะหยาบ ถึงจะหยาบก็ช่างว่า" แล้วทรงมีรับสั่งว่าเสภาตอนนี้ครูแจ้งแต่งหยาบจนต้องตัดออก 2 แห่ง คือตรงนางศรีจันทร์สอนนางบัวคลี่ กับตรงบทอัศจรรย์ขุนแผนเข้าห้องนางบัวคลี่ เรื่องนี้สมเด็จฯทรงมีรับสั่งไว้ใน "ตำนานเสภา" ตอนหนึ่งว่า

            "หนังสือเสภาสำนวนเก่า บางแห่งมีความที่หยาบคาย ด้วยผู้แต่งประสงค์จะขับให้คนฮา...พาให้บทเสภาเป็นที่รังเกียจของผู้อ่าน ถึงแต่ก่อนมีบางตอนที่ห้ามกันไม่ให้ผู้หญิงอ่าน ชำระคราวนี้ได้ตัดตรงที่หยาบนั้นออกเสีย ด้วยประสงค์จะให้หนังสือเสภาฉบับนี้พ้นจากความรังเกียจ แต่ไม่ได้ตัดถึงจะให้เรียกราบทีเดียว เพราะกลอนเสภาดีอยู่ที่สำนวนเล่นกันอย่างปากตลาด บางทีก็พูดสัปดน หรือด่าทอกัน ถ้าไปถือว่าเป็นหยาบคายตัดออกเสียหมด ก็จะเสียสำนวนเสภา จึงคงไว้เพียงเท่าที่จะไม่ถึงน่ารังเกียจ"

            เมื่อสมเด็จฯทรงตัดเอาตอนดีๆ ไปเสียแล้ว คนรุ่นหลังๆ รวมทั้งตัวผมเองจึงไม่ได้อ่านโวหารเปลือยๆ ของครูแจ้ง แต่สงสัยว่าอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านจะเคยอ่านเพราะท่านบรรยายไว้ในหนังสือ "ขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่" (สำนักพิมพ์สยามรัฐ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2532, หน้า 100-103) มีอบรมสั่งสอนลูกสาวให้รู้จักปรนนิบัติพัดวีผู้จะเป็นผัวตามประเพณี แต่สำนวนที่อ่านกันทั่วไป "ไม่อร่อย" อาจารย์คึกฤทธิ์จึงยกมาอีกสำนวนหนึ่งซึ่งท่านเข้าใจว่าเป็นสำนวนครูแจ้ง ดังจะขอคัดตัดตอนมาดังต่อไปนี้

 

            "คำสั่งสอนลูกสาวสำนวนนี้ขึ้นต้นก็สอนวิธีให้เอาใจผัว เช่นเดียวกับสำนวนอื่นๆ ทุกแห่ง

ครั้นเมื่อยามดึกกำดัดสงัดหลับ         คนระงับนอนนิ่งทั้งเรือนใหญ่

            ท่านยายปลอบลูกน้อยกลอยใจ       แม่จะไปนิทรากับสามี

            งามปลื้มแม่อย่าลืมคำสอนสั่ง           อุตส่าห์ฟังจำไว้ให้ถ้วนถี่

            อันการปรนนิบัติของสตรี                 ถ้าทำดีแล้วชายไม่หน่ายใจ

            สู้ถ่อมตัวปรนนิบัติคอยจัดแจง          เมื่อเขาแข็งแล้วอย่าขัดอัชฌาสัย

            รู้จิตผัวว่าสมัครรักเท่าไร                 ก็ยักย้ายส่ายให้ถูกใจกัน

 

            เสภาสำนวนนี้เห็นได้ชัดว่าต้องการจะขับให้คนฟังได้หัวเราะเอาสนุก จึงพูดเป็นสองแง่สองง่าม ทำให้เกิดความเข้าใจเกินไปกว่าที่ได้ยินจากเสภา..."

ครั้นมาถึงบทสอนให้ทำกับข้าว ก็เห็นได้ว่ากับข้าวที่สอนนั้น เป็นกับข้าวอย่างเดียวกันกับที่อยู่ในสำนวนฉบับหอพระสมุดฯ คือมีต้มตีนหมู มีไข่ไก่สด และมีปลาไหลต้มยำ...นอกจากบอกตำราทำกับข้าวแล้ว เสภาสำนวนนี้ยังได้บอกสรรพคุณของกับข้าวเหล่านี้ด้วย

            อุตส่าห์จำทำให้ผัวกินลอง                          ล้วนแต่ของมีกำลังทั้งสามสิ่ง

            ทำให้กินเนืองเนืองเปรื่องขึ้นจริง                   ทุกสิ่งของแท้เป็นแน่นอน

            ทำให้กินทุกวันหมั่นสำเหนียก                      แม้อ่อนเปียกก็จะแข็งเป็นไม้ท่อน

            พอตกค่ำขึ้นท้ายไม่หลับนอน                       พายเรือคอนเหยาะเหยาะจนเคาะระฆัง

 

            เสภา "สอนลูกสาว" ที่คัดมานี้ อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เชื่อว่าเป็นสำนวนครูแจ้ง แล้วยังบอกอีกว่า "เคยมีฉบับพิมพ์เก่ามากๆ ขาดๆ วิ่นๆ..." แต่ต่อมาฉบับพิมพ์นี้หายไปอาจารย์คึกฤทธิ์จึงเขียนบอกว่า "ที่เอามาลงได้ในที่นี้นั้นมาจากความจำของผมเองทั้งสิ้น"

            เมื่ออ่านโวหารแล้วก็เชื่อตามท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ว่าเป็นสำนวนครูแจ้ง ยิ่งตอนที่สอนลูกสาวว่า "สู้ถ่อมตัวปรนนิบัติคอยจัดแจง เมื่อเขาแข็งแล้วอย่าขัดอัชฌาสัย" กับตอนสอนทำกับข้าวแล้วบอกสรรพคุณว่า "ทำให้กินทุกวันหมั่นสำเหนียก แม้อ่อนเปียกก็จะแข็งเป็นไม้ท่อน" ยิ่งเชื่อว่าเป็นครูแจ้งแหงๆ เพราะชวนให้คนฟัง          เสภาสงสัยว่า "อะไรแข็งวะ"

            นี่แหละ นี่แหละ สำนวนครูแจ้ง

            เหตุใดอาจารย์คึกฤทธิ์จึงมีฉบับพิมพ์ตรงนี้? คำตอบมีอยู่ในคำอธิบายของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2478 "บทเสภาครูแจ้งได้เคยพิมพ์มาแล้วที่โรงพิมพ์บางกอกประสิทธิ์ ปากคลอง วัดประยุรวงศาวาส แต่เดี๋ยวนี้หาฉบับได้ยาก" เข้าใจว่าเสภาตอนกำเนิดกุมารทองสำนวนครูแจ้งฉบับเต็มคงเป็นฉบับพิมพ์ที่โรงพิมพ์บางกอกประสิทธิ์นี้เอง

            ฟรี รายละเอียดความเป็นมาของเสภา รวมทั้งเรื่องราวของครูแจ้ง วัดระฆัง พิมพ์แจกผู้ต้องการทุกคนในงานสุดยอดเสภา ที่ท้องพระโรง-สวนแก้ว วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ตอนบ่ายวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550

ผู้ต้องการเอกสารที่อยู่ต่างจังหวัด ติดต่อขอรับที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เจ้าภาพงานสุดยอดเสภาคราวนี้

 

คัดจาก คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม นสพ.มติชน 3 ส.ค. 50




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ