ReadyPlanet.com
dot dot
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า

“ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า”
ยูร      กมลเสรีรัตน์
____________________________________________________________________

 “ประเด็นเรื่องกลอนเปล่า ผมเองก็ไม่มั่นใจว่าคำจำกัดความคืออะไร รู้แต่ที่เขาพูดกันในภาษาอังกฤษว่าBank  Verse  จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ถ้าผมจะพูดต่อไปแล้วไม่ใช่Bank Verse อย่างที่พูดกัน หรือไม่ใช่อย่างที่ความเป็นไทยที่อวดกันอยู่ ก็ต้องขอประทานโทษด้วยว่าเราคิดกันคนละอย่าง  เรามาพูดกันก่อนว่าภาษาของมนุษย์อย่างน้อยมีสองอย่าง หนึ่ง ภาษาพูด สอง ภาษาเขียน  ปัจจุบันเราเอาแต่ภาษาเขียนมาเป็นตัวกำหนดสถาปนามาตรฐาน โดยละทิ้งภาษาพูด ทั้งๆ ที่เราก็พูดกันนั่นแหละ เพียงแต่ว่าเมื่อเวลาจะพูดกันในเรื่องมาตรฐานแล้ว มักจะต้องเอาภาษาเขียนมาเป็นตัวกำหนด  ส่งให้ครูวรรณคดีทั่วประเทศลืมวรรณคดีภาษาพูด นอกจากลืมแล้วยังดูถูกอีกต่างหาก  ยกย่องแต่ภาษาเขียนและเป็นภาษาเขียนเฉพาะในราชสำนักเสียด้วย  ในราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเสียด้วย ลุ่มน้ำอื่นไม่มี”
 ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดของสุจิตต์  วงษ์เทศ นักเขียน,กวีและศิลปินแห่งชาติ ผู้ซึ่งรอบรู้ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์
 “นี่คือปัญหาที่บางครั้งเราอาจจะพูดกันคนละโลกหรืออยู่คนละขุม ผมขออธิบายเริ่มต้นเพียงว่าภาษาพูดมันมีมาก่อนภาษาเขียน แต่คนมักจะลืมไปว่าวรรณคดีที่เป็นภาษาเขียน ก็เอามาจากภาษาพูดก่อนเช่นขุนช้าง-ขุนแผน ก็มาจากภาษาพูดก่อน แล้วจึงมาเป็นภาษาเขียนคือกลอนเสภาทีหลัง ที่ผมเอ่ยว่าภาษาพูด ผมหมายถึงว่าย้อนหลังกลับไปอย่างน้อยก็สามพันปีตามหลักฐานที่ยืนยันว่ามีคนพูดภาษาตระกูลไทย-ลาวแล้ว ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ผมเอาหลักฐานที่นักโบราณคดีและนักมนุษยวิทยาอธิบายไว้
 กลุ่มภาษาพูดตระกูลไทย-ลาวเก่าสุด ปัจจุบันอยู่ในมณฑลกวางสี ตอนใต้ของจีนใต้ ลุ่มน้ำ
แยงซีเกียงเกียง ติดกับกวางตุ้งนั่นแหละ คำว่า กวางตุ้งกับคำว่ากวางสี ก็น่าเชื่อว่าเป็นภาษาตระกูล-ไทยลาวด้วย จริงหรือเท็จเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ภาษาพูดกลุ่มนี้ด้วยสำเนียงอย่างไรคงบอกไมได้  แต่มันมีลักษณะสืบเนื่องปัจจุบันคือคนกลุ่มจ้วงสำเนียงเดียวกับนครศรีธรรมราช ใกล้เคียงกับสำเนียงลาว

 

อีสาน ถือว่าเป็นสำเนียงเก่าแก่มาก ภาษาพูดแบบนี้แหละเริ่มเป็นคำ ๆ เริ่มเป็นวลี ๆ   เป็นประโยคก็เป็นประโยคสั้น ๆ ประโยคสั้น ๆ มันเริ่มส่งสัมผัส เรารู้กันทั่วไปในชื่อคำคล้องจอง
 เมื่อมีภาษาเขียนมีตัวอักษรขึ้น ก็เอาคำคลเองจองมาจัดระเบียบ คำคล้องจองเก่าสุด เรารู้จักกันทั่วไป เพียงแต่ว่าเราลืมไปแล้วคือร่าย ร่ายที่เรารู้จักในปัจจุบันเป็นร่ายที่สำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาปรุงแต่งแล้ว ถ้าร่ายในลักษณะโบราณเก่าเป็นพันปีขึ้นไป มันคือคำทำขวัญ คำทำขวัญก็สืบทอดมาจากหมอผี หมอผีเป็นผู้สืบศาสนาผี ศาสนาผีมีก่อนศาสนาพุทธ มีก่อนศาสนาพราหมณ์ โลกทั้งโลกเริ่มต้นด้วยศาสนาผี ถ้าศาสนาผีของกลุ่มสุวรรณภูมิหรือSouth East Asia ผู้นำทางศาสนาเป็นผู้หญิง ผู้หญิงเป็นหมอผีและเป็นหัวหน้าเผ่าพันธุ์ด้วย”
 สุจิตต์  วงษ์เทศสรุปตอนนี้ว่า หมอผีจะสื่อสารด้วยภาษาพิเศษคือส่งสัมผัสเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้เป็นระเบียบแน่นอน มีลักษณะเสรี ต่อเมื่อมีภาษาเขียนแล้ว จึงกำหนดกฎเกณฑ์มากขึ้น แล้วโยงถึงกลอนเปล่าจากการที่ได้กลอนเปล่า ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ว่า เขารู้สึกว่ากลอนเปล่ามีลักษณะอย่างนั้น ด้วยกลอนเปล่าในความหมายของเขาคือเอาภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนหรือเขียนด้วยภาษาพูด ดังที่เขายกตัวอย่างจากพงศาวดารล้านช้าง
“กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้า เป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนก็เที่ยวไปมาหากันบ่ขาด  สำหรับผมมันคือกวี กลอนเปล่าหรือจะเรียกกลอนเปลือยก็ตามใจ มันงาม มันธรรมชาติ มันสวย มันยาวเอาตัวอย่างแค่นี้ ทั้งหมดนี้เขาต้องการพูดถึงมนุษย์กำเนิดอยู่ในหมากน้ำเต้าปรุง แล้วมีพี่น้องออกมาห้าคนห้าพวก เขาต้องการอธิบายถึงว่าคนในสุวรรณภูมิเป็นพี่น้องกันทั้งนั้น คนแรกออกมาผิวดำ เป็นพวกข่า คนกลางเป็นเวียดนาม คนสุดท้องเป็นลาวและไทย  จะต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่ากลอนเปล่า มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติ มันเป็นเรื่องปกติของภูมิภาคนี้หรืออาจจะทั้งโลกก็ได้”
สุจิตต์  วงษ์เทศอ้างเอกสารอยู่ชิ้นหนึ่งเรียกว่าความโทเมือง แปลความได้ว่า บทเล่าเรื่องความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ตัวเอง  บทนี้เป็นของไทยขาว ไทยขาวก็คือกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มไทยดำไทยเดิม ปัจจุบันเรารู้จักกันในนามลาวโซ่ง  แต่เขาเรียกตัวเขาเองว่าผู้ไท ลาวโซ่งน่ะ คนกรุงเทพฯเรียกเขา เอกสารชิ้นนี้ได้มาจากกลุ่มผู้ไทยขาว ดังที่เขายกตัวอย่าง..... 
“จี่ก่อเป็นดินเป็นหญ้า ก่อเป็นฟ้าท่อถวงเหด ก่อเป็นดินเจ็ดก้อน ก่อเป็นน้ำเก้าแควปากแททาว จี่ก็คล้าย ๆ จะ,เมื่อนั้น,บัดนั้น,จึง แปลความได้ว่า จี่ก่อเป็นดินเป็นหญ้า แล้วก่อเป็นฟ้าเท่ากับเห็ด หมายความว่ามนุษย์นั่งมองเห็นท้องฟ้าเหมือนตัวเองนั่งอยู่ใต้ดอกเห็ด ท้องฟ้านั่นแหละคือร่ม
เห็ด ก่อเป็นดินเจ็ดก้อน เออ!ทำไมต้องเจ็ดก้อน ผมไม่รู้เหมือนกัน ก่อเป็นน้ำเก้าแควปากแททาวก็คือ ก่อเป็นน้ำเก้าสาย ภาษาไทยขาวนะ ผมอาจจะอธิบายผิดบ้างก็ได้”
แล้วสรุปว่าทั้งหมดนี้สำหรับเขาแล้วมันคือกลอนเปล่า เป็นบทกวีที่พูดถึงเผ่าพันธุ์ของตัวเอง และเล่าให้สมาชิกในเผ่าพันธุ์นั้นฟังในพิธีกรรมสำคัญคือพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ


“พิธีสำคัญนี้จะทำปีละครั้งในฤดูเดือนห้าเดือนหก แล้วจะต้องร้องเพลงขับรำ พรรณนาถึงประวัติความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ตัวเอง นี่คือคำทำขวัญที่ผมพูดได้ไปแล้ว นี่แหละคือกลอนเปล่าในความหมายของผม  จากอันนี้เองเมื่อรับพระพุทธศาสนาแล้ว ลักษณะกลอนเปล่าที่ส่งสัมผัสเปลือย ๆ อย่างธรรมชาตินี้ จะมีอยู่ในศิลาจารึกเช่นจารึกปู่สบถหลาน คือจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๕  พบที่วัดมหาธาตุ สุโขทัย”
นักโบราณคดีผู้นี้อธิบายถึงชื่อจารึกสบถหลานว่าปู่คือกษัตริย์เมืองน่าน หลานคือกษัตริย์สุโขทัย  ปู่กับหลานทำสัตย์สาบานกันว่าจะไม่คิดคดทรยศกัน ซึ่งมีคำคล้องจองและไม่คล้องจอง เป็นความเรียงอย่างที่เขาใช้คำว่ากลอนเปล่า มีลีลาเดียวกัน
“มีจารึกหลักหนึ่งที่ผมว่าควรรู้จักซักนิดหน่อย เป็นศิลาจารึกหลักที่ ๔๘ ทำขึ้นเมื่อพ.ศ.๑๙๕๑ ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์อยุธยา เป็นสายสุพรรณมาครองอยุธยา...‘นะโมพุทธายะ ทศนัขคุณเทศ ผกาเแก้วเกษเศษบรมกษัตริย์ ทัดดินต่างปิ่นเกล้าเป็นทอง
มกุฏ สุดใจดินใจฟ้า...’ ลักษณะเรียงประโยค การใช้ถ้อยคำแบบนี้สำหรับผมแล้วคือกลอนเปล่า
   ลีลากลอนส่งสัมผัสน้อย ๆและส่งสัมผัสเสรีในลักษณะนี้  สุจิตต์  วงษ์เทศขยายความต่อว่ามีอยู่ในบทละครนอกเรื่อง “นางมโนห์รา” เป็นบทละครนอกสิบเก้าเรื่องที่เป็นต้นฉบับสมุดข่อย
“แต่มีเรื่องหนึ่งที่เอามาพิมพ์แพร่หลายคือเรื่องนางมโนห์รา  เป็นกลอนเปล่ากลอนเปลือยส่งสัมผัสน้อยที่สุดและเป็นต้นแบบของกลอนบทละครทุกวันนี้ สำหรับผมแล้วกลอนเปล่าเป็นเรื่องดีงามเป็นเรื่องงอกงาม เป็นเรื่องของความเจริญเติบโต ถ้าคิดอะไรไม่ออก เขียนกลอนเปล่าก่อนเถอะ อย่าไปดัดจริตเป็นนักกลอนที่เขาเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เอาไว้ถ้าสั่งสมประสบการณ์มากขึ้น แล้วค่อยทำเลียนแบบเขา สำหรับผมแล้วถ้าเริ่มต้นด้วยกลอนเปล่าได้เป็นดีที่สุดและผมคิดว่าเป็นโลกที่เปิดกว้างมหาศาลให้มนุษย์ทั่วไปเข้าถึงตัวอักษร ความรู้และความเป็นกาพย์กลอนโคลงทั้งหลาย”
“จงรักความถูกต้อง แต่ก็ให้อภัยความผิดพลาด” (วอลแตร์)

หมายเหตุ-ทัศนะของสุจิตต์  วงษ์เทศดังกล่าวเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า” จัดโดยสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ณ พระอุโบสถวัดเทพธิดารามเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้ร่วมเสวนาอีก ๔ คนคือเนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ วัฒน์  วรรลยางกูร  ยุทธ  โตอติเทพและทองแถม  นาถจำนง  ผู้เขียนไปฟังตอนงานจะเลิกแล้ว เนื่องจากติดธุระ เห็นว่าหัวข้อน่าสนใจ  จึงขอยืมม้วนเทปที่อัดเสียงมา ตั้งใจจะเขียนเป็น ๓ ตอน แต่ปรากฏว่าม้วนเทปติดแต่เสียงของสุจิตต์ วงษ์เทศเพียงคนเดียว เป็นที่น่าเสียดายมากและขออภัยมาเป็นอย่างสูง แต่อย่างน้อยถือว่านักเขียน-กวีดังกล่าวมานี้ได้เปิดประเด็นที่ท้าทายวงวิชาการแล้ว ณ ห้วงเวลานี้




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ