 | คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์มหาชาติ เข้าใจว่าเห็นจะมีทั้ง ๑๓ กัณฑ์ แต่ที่ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครรวบรวมได้ไว้ยังไม่ครบ สังเกตดูฉบับที่ได้ไว้ สำนวนแต่งดูเหมือนจะแต่งในรัชกาลที่ ๒ ละรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ เป็นสำนวนที่แต่งดีทุกกัณฑ์ แต่หาทราบชื่อผู้แต่งได้หมดไม่ ที่ทราบได้บางกัณฑ์เป็นสำนวนเจ้านายผู้หญิงทรงพระนิพนธ์ก็มี ดังเช่นคำฉันท์กัณฑ์กุมาร ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา ทรงพิมพ์ประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์เมื่อ พ.ศ ๒๔๖๖ |
 | คำฉันท์ (๗)
เมื่อเริ่มเขียนบทความชุด “คำฉันท์” วางแผนงานไว้ว่า จะเขียนแนะนำวรรณคดีคำฉันท์ไล่เรียงมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เขียนไปเรื่อย ๆ ให้เห็นพัฒนาการของฉันทลักษณ์ฉันท์ และจะสอดแทรกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในสังคมยุคนั้น ๆ ที่ข้าพเจ้ามีข้อมูลใหม่ ๆ แปลก ๆ เอาไว้ด้วย เป็นต้นว่า นำเอาฉากบรรยายการคล้องช้างในวรรณคดีลาว(อีสาน)มาเล่าเสริมเรื่องการคล้องช้างใน “สมุทรโฆษคำฉันท์” ไว้ด้วย |
 | คำฉันท์ (๖)
ขอเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน |
 | คำฉันท์ (5)
“อนิรุทธคำฉันท์” มีคำฉันท์มากประเภทกว่าเรื่อง “เสือโคคำฉันท์” และสำนวนก็ไพเราะกว่าด้วย ฉากบรรยายป่า ล่าสัตว์ ฉากอุ้มสม ฉากวาดรูป จนถึงฉากพระเจ้ากรุงพาณออกรบจับพระอนิรุทธมัดประจานไว้หน้าพระลาน มีฉันท์ไพเราะหลายบท แต่ขอข้ามไป จะยกตัวอย่าง “สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19” ตอนที่นางอุษารำพัน ขอให้สังเกตว่า คำส่งสัมผัสนั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสคำท้ายวรรค |
 | คำฉันท์ (4)
วรรณคดีประเภทฉันท์ที่อ่าน “มัน” มาก ตามความชอบส่วนตัวของข้าพเจ้าคือเรื่อง “อนิรุทธคำฉันท์” เพราะมีเรื่อง “เทพ” รบกันเอง พระกฤษณะ ซึ่งคือพระนารายณ์อวตารมาอยู่เมืองมนุษย์ รบกับพาณาสูรราชซึ่งเป็นยักษ์ แต่พระอิศวรดันมาช่วยพาณาสูรราช รบกับมนุษย์ (พระกฤษณะ) แล้วยังเอาชนะพระกฤษณะ(มนุษย์)ไม่ได้ หมดทางเข้าก็จะใช้ “ตาที่สาม” |
 | คำฉันท์ (3)
เมื่อหลวิชัยและคาวีกราบลาจากพระฤาษีแล้ว ก็เดินไพร ประพันธ์ใช้อินทรวิเชียรฉันท์บรรยายพืชพรรณไม้และหมู่นก ความยาว 30 บท คนอ่าน-ฟังก็ลื่นไหล เพราะคุ้นเคยฉันทลักษณ์ดี แต่พอถึงฉากบรรยายสัตว์ป่า พระมหาราชครูเลือกใช้วสันตดิลกฉันท์ 14 ซึ่งอ่าน-ฟังยากขึ้น ซึ่งท่านก็แต่งไว้เพียง 8 บทเท่านั้น ดังนี้ |
 | คำฉันท์ (2)
เสือโคคำฉันท์เป็นฝีมือพระมหาราชครู คนเดียวกับที่แต่งสมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้นเรื่อง เรื่องเสือโคคำฉันท์นั้นแปลงมาจากเรื่องในปัญญาสชาดก เนื้อเรื่อจึงสนุกกว่า และพระมหาราชครูใช้ฉันทลักษณ์ ฉบัง 16 กับ สุรางคนางค์ 28 จึงอ่านง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ แต่เราลองมาอ่าน “ฉันท์” แท้ๆ ในเสือโคคำฉันท์กันสักตอน
|
 | ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
ข้าพเจ้ารู้สึกทันที่ว่า น่าจะรวมวรรณคดีไว้มากกว่านี้ ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะเขียนแนะนำวรรณคดีเพิ่มเติมอย่างย่อ ๆ จึงพลิกหนังสือรอบ ๆ ตัวที่หยิบมาได้สะดวก ไล่เรียงคร่าว ๆ ได้ชื่อวรรณคดีเพิ่มอีกนิดหน่อย ภายในวันเดียวก็ยังได้เพิ่มขึ้นหลายเล่ม |
 | คำฉันท์ (1)
มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเป็นกรณีศึกษาอยู่คำหนึ่งคือคำว่า กังวล (ไท้นฤกัง – วละอย่างไร) กังวล เป็นคำเขมร (กังวล ก. ห่วงใย, มีใจพะวงอยู่. (ข) – พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน), คำศัพท์ที่จะ ทีฆะ – ทำสระเสียงสั้นให้เป็นสระเสียงยาว หรือ รัสสะ-ทำสระเสียงยาวให้เป็นสระเสียงสั้น และการแตก,กระจายคำออกเป็นพยางค์สั้นๆ เพื่อใช้เป็นคำ ลหุ คำนั้นๆ ต้องเป็นคำที่มาจากภาษา บาลี – สันสกฤต |
 | ฉากรบใน ดาหลัง
บทละครเรื่อง “ดาหลัง” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเรื่องอ่านสนุก แม้จะมีเรื่องราวการสงครามสลับกับฉากรักอยู่หลายครั้ง แต่บทกลอนที่บรรยายฉากสงครามมีไม่มากและก็ไม่ดุดันหวาดเสียว มีฉากที่ยาวที่สุด คือตอน “ทหารเอกของปันหยี ยกกองทัพไปตีเมืองตระเส” ระตูตระเส เจ้าเมืองตระเสยกกองทัพออกสู้รบกับกองทัพทหารเอกปันหยี บทละครบรรยายดังนี้ เมื่อระตูตระเส ยกทัพออกนอกเมืองก็พบกับกองทัพของปันหยี |