ReadyPlanet.com
dot dot
สุนทรภู่ มหากวีกระฏุมพี

สุนทรภู่  มหากวีกระฏุมพี
เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก  มีวิชารู้เท่าทันโลก

ดาวน์โหลด สุนทรภู่  มหากวีกระฏุมพี Microsoft word...
ดาวน์โหลดประวัติสุนทรภู่ PDF ไฟล์...

     สุนทรภู่  เป็นกระฏุมพีผู้ดีมีมีมิตรชาวบางกอก  เกิดในวังหลัง  ปากคลองบางกอกน้อย) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน
2329 ยุค ต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 1 เมื่อเติบโตขึ้นเข้ารับราชการในวังหลวง  เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำราชสำนัก
รัชกาลที่ 2 ต่อมาได้ ออกบวชในรัชกาลที่ 3 อยู่วัดเทพธิดาราม นานถึง 18 ปี (พ.ศ.2367-2385 อายุ 38-56 ปี)
แล้วลาสึกมารับราชการในวังหน้ากับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ(แต่อาศัยอยู่พระราชวังเดิม ธนบุรี) จนถึงแก่กรรมใน
รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2398 อายุ 69 ปี

200 ปี
นิราศเมืองแกลง

     นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่  เป็นนิราศเรื่องแรก (เท่าที่พบหลักฐาน) ราว 200 ปีมาแล้ว แต่ง พ.ศ. 2349
เมื่อ20 ปี อยู่ในแผ่นดินรัชที่ 1
     เชื่อกันมาก่อนนานแล้วตามพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (และเชิงอรรถอธิบายของนายธนิต
อยู่โพธิ์อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ว่าสุนทรภู่แต่งนิราศเมืองแกลงภายหลังกรมพระราชวังหลังทิวงคต เมื่อ พ.ศ.2350
     แต่อาจารย์ล้อม  เพ็งแก้ว  ตรวจสอบหลักฐานพบว่าสุนทรภู่ แต่งนิราศเมืองแกลง เมื่อ พ.ศ. 2349
ก่อนกรมพระราชวังหลังทิวงคต
      (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เรื่องการบวชของบิดาสุนทรภู่ และปี่แต่งนิราศเมืองแกลง โดย  ล้อม  เพ็งแก้ว
พิมพ์ครั้งแรกในศิลปวัฒนธรรม  ฉบับพฤศจิกายน 2545 แล้วรวมอยู่ในหนังสือสุนทรภู่ : อาลักษณ์เจ้าจักวาล
สำนักพิมพ์ติชน 2547)

เมืองแกลง (อำเภอแกลง จังหวัดระยอง) หมายถึงเมืองที่มีนามว่าแกลง

แต่ แกลง หมายถึงอะไร? ยังไม่พบคำอธิบายตรงๆ เพราะคำนี้มีปัญหาต้องศึกษาอีกมาก เช่น แกลงเป็นเสียงตรงของรากคำหรือเพี้ยนจากคำอื่น เช่น แคลง, แครง ฯลฯ แล้วคำเหล่านี้มีรากจากตระกูลภาษาอะไร? ไทย-ลาว, มอญ-เขมร, หรือชวา-มลายู?

แคลง แปลว่า ว่าว เป็นภาษาเขมร มีในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ว่า พิธีแคลง หมายถึงพิธีชักว่าวขอลมในเดือนอ้าย ดังนี้

๏ เดือนอ้ายผายกรุงท้าว พิธีว่าวกล่าวกลแสดง
เดือนนี้พิธีแคลง กลุ้มท้องฟ้าคลาอรไกล

๏ มฤคเศียรดลมาศกล้า ลมแรง
ว่าวหง่าวพิธีแสดง แหล่งหล้า
เรียกชื่อพิธีแคลง โดยที่
สาวส่งขึ้นลอยฟ้า ร่ายร้องคนึงสาว

แครง แปลว่า หงอน, ง่าม, งา, เขา, เชิง, ชาย ฯลฯ เป็นภาษามอญ สะกด คฺรงฺ อ่านว่า แกฺร้ง (ดูใน พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2531) มีคำใกล้เคียง เช่น เคฺลงฺ อ่านว่า เกฺลียง แปลว่าหาบ (เช่น หาบของ) ฯลฯ

มีประโยคตัวอย่างอยู่ในพงศาวดารมอญพม่า (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1) ว่า "ในภูเขาแครงนาค คือภูเขาหงอนนาคนั้น มีพระฤๅษีองค์หนึ่งชื่อโลมดาบสอาศัยอยู่..."

อีกความหมายหนึ่งว่าเชิง หรือชายสิ่งต่างๆ เช่น เชิงตะพาบน้ำ เรียกเชิงแครง, ผ้าห้อยหน้าตัวละคร เรียกชายแครง ฯลฯ แล้วมีหอยชนิดหนึ่งเรียกหอยแครง

แกลง ในภาษาชอง (คนพื้นเมืองดั้งเดิม) บริเวณฝั่งทะเลตะวันออก และมีในเขมรกับเวียดนาม) มีผู้บอกว่า หมายถึง ปลาดุก, แหวน ฯลฯ แต่ไม่พบหลักฐานยืนยันมั่นคง ยังเป็นเพียงคำบอกเล่าสืบมา (ประวัติศาสตร์เมืองระยอง โดย เฉลียว ราชบุรี พิมพ์ครั้งแรก 2549)


อนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่บ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สร้างขึ้นด้วยพื้นฐานความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สุนทรภู่เกิดที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง แต่พยานหลักฐานแวดล้อมกับข้อความที่สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศสุพรรณกับนิราศเมืองเพชรบุรี ระหว่างบรรพชนเป็นพราหมณ์เมืองเพชรบุรี แต่สุนทรภู่เกิดในวังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่บ้านกร่ำ เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ร่างต้นแบบไว้ก่อน แล้วมอบให้ช่างศิลป์ปั้นหล่อแล้วก่อสร้างจนสำเร็จอีกหลายปีต่อมา ดังคำบอกเล่าของ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่า

"ศิลปินผู้ออกแบบและควบคุมการปั้นและการหล่อรูปคือ อาจารย์สนั่น ศิลากร ส่วนประติมากรผู้ปั้นรูปคือ สุกิจ สายเดช ปั้นรูปสุนทรภู่ ไกรสร ศรีสุวรรณ ปั้นรูปพระอภัยมณี สาโรช จารักษ์ ปั้นรูปนางเงือก และ ชนะ เลาหกัยกุล ปั้นรูปผีเสื้อสมุทร ส่วนอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ได้มีบทบาทในเรื่องนี้ เพราะคงไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทราบว่า อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ปั้นและหล่ออนุสาวรีย์ต้นแบบให้ข้าพเจ้าไปแล้วหลายปีก่อนหน้านั้น

อย่างไรก็ตาม การสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ได้สำเร็จลงด้วยดีและมีการทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2513 นับว่าเป็นอนุสาวรีย์สำคัญชิ้นแรกสำหรับท่านสุนทรภู่ ซึ่งเป็นมหากวีของชาติไทยคนหนึ่ง และทั้งเป็นกวีเอกของโลกด้วย โดยได้รับยกย่องจากยูเนสโกขององค์การสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2529"

(ที่มา : ชีวิตการเมือง เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์. กรุงเทพฯ : เยียร์บุ๊ค, 2546 : 145-148.)

 

นำไปสู่หมุดกวี
ฐปกรณ์ โสธนะ เรียบเรียง

**เป็นมาอย่างไร

คณะกรรมการดำเนินการตามรอยสุนทรภู่ร่วมกับอำเภอเมืองระยองนำโดยนายเถลิง ครามะค่า นายอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในขณะนั้นได้เริ่มกันคิดสื่อแสดงอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเดินทางผ่านตำบลและสถานที่ต่างๆ ที่ท่านสุนทรภู่บันทึกไว้ในนิราศเมืองแกลง จึงได้กำหนดจุดจารึกบทกลอนในนิราศที่กล่าวถึงสถานที่นั้นๆ ไว้ เฉพาะเขตจังหวัดระยอง รวมทั้งสิ้น 28 จุด เรียกว่า "หมุดกวี"

**ลักษณะของหมุดกวี

ออกแบบโดย อาจารย์อำนวย หมั่นสมัคร ศิลปินดีเด่นจังหวัดระยอง สาขาทัศนศิลป์ด้านศิลปะออกแบบ ในฐานะที่เป็นกรรมการสภาวัฒนธรรม จังหวัดระยอง ได้ออกแบบหมุดกวีนี้ไว้ โดยจัดทำด้วยแผ่นหินแกรนิต สีดำ ขนาด 60 x 90 เซนติเมตร จารึกบทกวีเป็นอักษรไทยตัวในคอมพิวเตอร์แบบ Wansika โดยพ่นด้วยทรายเป็นรอยลึกลงไปจากผิวแผ่นหิน แล้วปิดทองวางเอียงลักษณะ 45 องศา เพื่อให้สะดวกในการอ่าน อยู่บนแท่นคอนกรีต สูง 80 เซนติเมตร ที่มีฐานกว้าง 2.00 x 2.00 เมตร กำหนดจุดตั้งไว้ตามตำบลและสถานที่ต่างๆ ที่สุนทรภู่กล่าวถึงในนิราศเมืองแกลง คณะกรรมการโดยอำเภอเมืองระยอง และคณะทำงานของจังหวัด ได้ดำเนินการปัก "หมุดกวี" เป็นปฐมฤกษ์ ประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดหมุดกวีหมุดแรกที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2544 เวลา 09.09 นาฬิกา และคาดการณ์ว่าอนาคตจะเกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง

บทกลอนที่จารึกไว้ ก. หมุดกวีที่มีการปักเป็นปฐมฤกษ์นั้น เป็นจุดที่ 12 ใน 28 จุดที่กำหนดไว้ โดย "หมุดกวี" ในจุดนี้ห้างบิ๊กซีระยอง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง มีบทกวีดังกล่าวไว้ว่า

พอสิ้นดง ตรงบาก ออกปากช่อง
ถึงระยอง เหย้าเรือน ดูไสว
แวะเข้าย่าน บ้านเก่า ค่อยเบาใจ
เขาจุดไต้ ต้อนรับ ให้หลับนอน

และต่อมารับความร่วมมือจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ตามเส้นทางที่สุนทรภู่เดินผ่าน ได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างหมุดกวีไว้


บิดาสุนทรภู่
บวชล้างกรรม

     บิดาสุนทรภู่เป็นทหารนักรบในกรมพระราชวังหลัง ได้ออกสงความสำคัญคราวศึกเก้วทัพ เมื่อต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 1
พ.ศ. 2328 (ก่อนสุนทรภู่เกิด 1ปี ) รบราฆ่าฟันข้าศึกจำนวนมาก จ้องบวชล้างกรรมตามประเพณีหลังเสร็จศึก
     การบวชของบิดาสุนทรภู่เกี่ยวข้องกับราชการ (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) อยู่ในสายตาของรัฐสมัยนั้นตลอดเวลา
และอาจได้รับมอบหมายภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งจากรัฐด้วย
     ฉะนั้น การบวชของบิดาสุนทรภู่ จึงไม่เกี่ยวกับการหย่าร้าง และไม่ได้หย่าร้างกับมารดาสุนทรภู่ เมื่อสุนทรภู่แต่งนิราศ
เมืองแกลงมีความวรรคหนึ่งบอกว่า “แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา” แสดงว่าสุนทรภู่ไปเมืองแกลงตามรับสั่ง
ทางราชการ (ลับ) ของกรมพระราชวัง ไม่ใช่งานส่งตัว และไม่ใช่ไปเที่ยวหรือไปเยี่ยมบิดา


สุนทรภู่ เกิดวังหลัง
“ผู้ดี” เมืองบางกอก

     สุนทรภู่มีบรรพชนเป็นพราหมณ์  บรรพชนท่านสุนทรภู่ย้อมใกล้ชิดอยู่กับข้าราชการและพระราชวงศ์
เพราะพราหมณ์มีหน้าที่เป็นเจ้าพิธีและอบรมสั่งสอนศิลปะศาสตร์ต่างๆ แก่บรรดาเหล่าผู้ดีในบ้านเมือง
     กรมพระราชวังหลังเป็นพระเจ้าหลานในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ประสูติในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวโกศครั้ง
กรุงศรีอยุธยา  เข้ารับราชการใกล้ชดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรพชนของท่านสุนทรภู่ได้
ฝากฝังตัวเป็นข้ารับใช้ในกรมราชวังหลัง
     บรรพชนของท่านสุนทรภู่เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยงมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา  มาดาของสุนทรภู่จึงเป็นพระนม
พระเจ้าลูกเธอในกรมพระราชวังหลัง และสุนทรภู่ก็ได้เติบโตใหญ่เป็นข้าราชวังหลังต่อมา
     การที่ท่านสุนทรภู่มีแม่เป็นพระนม และใช้ชีวิตวัยรุ่นหนุ่มอยู่ในวังหลัง น่าจะเป็นหลังฐาน อย่างพอเพียง
ให้ฟันธงไปได้ว่าสุนทรภู่เกิดที่วังหลังอย่างแน่นอน
     (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เรื่องการบวชของบิดาสุนทรภู่ และปี่แต่งนิราศเมืองแกลง โดย  ล้อม  เพ็งแก้ว
พิมพ์ครั้งแรกในศิลปวัฒนธรรม  ฉบับพฤศจิกายน 2545 แล้วรวมอยู่ในหนังสือสุนทรภู่ : อาลักษณ์เจ้าจักวาล
สำนักพิมพ์ติชน 2547)
กุฏิสุนทรภู่
     
     กุฏิสุนทรภู่ ที่คณะ 7 วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ มีขึ้นจากข้อสันนิษฐานของนักปราชญ์
ราชบัณฑิตกรมศิลปากร ที่ร่วมกันศึกษาค้นคว้าจากกลอนรำพันพิลาปของสุนทรภู่
แล้วเผยแพร่สู่สาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2504 มีคำอธิบายพร้อมรูปเหตุการณ์ต่อไปนี้
   
   
คำนำ
ของ อธิบดีกรมศิลปากร
(เมื่อพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2504)
         
     ในหนังสือ ประวัติสุนทรภู่ พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ซึ่งได้พิมพ์ได้อ่านเป็นที่ทราบกันแพร่หลายแล้วนั้น ทรงนิพนธ์ไว้ในเบื้องต้นว่า พระสุนทรโวหาร (ภู่)
ซึ่งคนทั้งหลายเรียกกันเป็นสามัญว่า "สุนทรภู่" นั้น เกิดในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์
เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329)
มีผู้รู้โหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาไว้ดังน

Image
     โดยเหตุที่ท่านสุนทรภู่เป็นมหากวีผู้ยิ่งใหญ่ของไทย
ผู้สร้างวรรณกรรมอันไพเราะไว้มากมาย มีชีวิตการประพันธ์เป็น
มหัศจรรย์ในวงวรรณกรรม นับได้ว่าบทกลอนของท่านได้กล่อม
ประชาชนชาวไทยให้สดชื่นรื่นรมย์มาตลอดเวลากว่าศตวรรษครึ่ง
ซึ่งวันเกิดของท่านสุนทรภู่จะเวียนมาบรรจบครบ
175 ปีบริบูรณ์ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2504 นี้
จึงได้กำหนดมีงาน กวีวรรณนา ขึ้นเป็นอนุสรณ์ในวันคล้าย
วันเกิดของท่าน ณ วัดเทพธิดาราม พระนคร และได้เลือกหนังสือ
"รำพันพิลาป"ของท่านมาพิมพ์ให้ท่านผู้สนใจได้อ่านได้ฟังกันโดย
แพร่หลายในโอกาสนี้ด้วย
         
     เหตุที่จัดงาน กวีวรรณนา ขึ้นในวัดเทพธิดา ก็เพราะปรากฏชัดว่า
ท่านสุนทรภู่เคยอยู่ในวัดนี้ ด้วยหลักฐานตามที่ทราบ ปรากฏว่า
กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างวัดเทพธิดา เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2379 และคงจะสร้างเสร็จ
ในปี พ.ศ. 2382 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินผูกพัทธสีมาในปีนั้น
ขณะนั้น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพมีพระชนมายุ 28 พรรษา คงจะได้โปรดให้นิมนต์ท่านสุนทรภู่ ซึ่งยังอยู่ในสมณเพศ
ให้มาจำพรรษาในวัดเทพธิดาตั้งแต่ในปีเริ่มแรกมีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาในปีผูกพัทธสีมา หรือถัดมาอีกปีหนึ่ง
ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ท่านสุนทรภู่กล่าวไว้ใน "รำพันพิลาป" ว่า "โอ้ปีนี้ปีขาลสงสารวัด
เคยโสมนัสในอารามสามวัสสา" ปีขาลที่ว่านี้ ตรงกับ พ.ศ.2385 และในขณะที่ท่านสุนทรภู่อยู่ในวัดเทพธิดา
ก็ได้แต่งหนังสือไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องรำพันพิลาป กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา โคลงนิราศสุพรรณ และเล่ากันมา
(ในประวัติสุนทรภู่ พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพมีรับสั่ง
ให้แต่งเรื่องพระอภัยมณี ถวายเดือนละ 1 เล่มสมุดไทย การที่เลือกหนังสือ "รำพันพิลาป" มาตีพิมพ์ขึ้นในงานนี้
ก็เพราะทราบได้แน่นอนว่าบทกลอนเรื่องนี้ท่านสุนทรภู่ได้แต่งขึ้นตามความฝันของท่านเมื่อ พ.ศ. 2385
อันเป็นระยะเวลาที่ท่านอยู่ในวัดเทพธิดา ทั้งรำพันถึงเรื่องราว เหตุการณ์ และสถานที่ ในวัดเทพธิดาเกือบตลอดเรื่อง
จึงสมควรที่จะจัดพิมพ์ขึ้นให้ได้อ่านได้ฟังกันโดยแพร่หลาย
                 
     ท่านสุนทรภู่บอกวันเดือนปีที่ฝันไว้ใน "รำพันพิลาป" ว่า "เดือนแปดวันจันทวาเวลานอน" และว่า
"โอ้ปีนี้ปีขาลบันดาลผัน" จึงเป็นอันรู้ได้ว่า ท่านฝันเมื่อคืนวันจันทร์ เดือน 8 ปีขาล (พ.ศ. 2385)
จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมไม่อาจรู้ได้ แต่มีกล่าวไว้แห่งหนึ่งว่า "เมื่อยามฝันนั้นว่านึกนั่งตรึกตรอง
เดือนหงายส่องแสงสว่างดั่งกลางวัน"  ถ้านอนฝันแล้วตื่นขึ้นดึกๆ เห็นดวงจันทร์ส่องแสงสว่างจ้าก็คงจะ
เป็นเวลาข้างขึ้นแก่ๆ หรือข้างแรมอ่อนๆ กระมัง แต่ในปีขาล พ.ศ. 2385 นั้นก็ปรากฏว่ามีเดือน 8 สอง 8
เสียด้วย จึงยากที่จะทราบได้ ขอฝากไว้เป็นข้อพิจารณาของท่านผู้อ่านมูลเหตุที่ท่านสุนทรภู่จะฝัน ท่านบอกของท่านไว้ว่า เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 พ.ศ.2385 เวลานั้นท่านบวช
เป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ในวัดเทพธิดา ท่านจุดธูปเทียนสวดมนต์ก่อนจำวัด แม้จะเป็นราตรีที่เงียบสงัด
แต่ก็นอนไม่หลับ หูได้ยินเสียงอะไรต่ออะไร เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงนกแสก เสียงแมลงมุมตีอก เป็นต้น
ตามวิสัยของคนที่มีจิตฟุ้งซ่าน เลยนึกเรื่อยเปื่อยไปถึงเรื่องราวซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตของท่านที่ผ่านมา
มีการผจญภัยนานาประการ นึกไปจนเหนื่อยจึงอ้างเอาอานิสงส์แห่งศีลและสัจจะที่ท่านได้บวชเรียน
เพียรบำเพ็ญมา พลางอธิษฐานจิตขอความฝันแล้วก็หลับไป เกิดนิมิตฝัน ว่าตัวท่านเองกำลังว่ายน้ำอยู่ใน
ท้องทะเลคนเดียว ก็มีสาวน้อยผู้หนึ่งเหาะมาแล้วพาไปให้อยู่ที่วัด (เทพธิดาราม) ท่านได้เห็น
พระพุทธรูปศิลาขาวและพระพุทธรูปทองทรงเครื่อง ซึ่งก็เห็นจะเป็นพระพุทธรูปในพระอุโบสถวัดเทพธิดานั่นเอง
แล้วพรรณนาถึงความฝันที่เห็นในเวลาหลับ ครั้นตื่นขึ้นนึกถึงความฝันแล้วก็รำพันไปถึงความหลัง
ข้อความรำพันช่วยให้เราได้ทราบถึงความเป็นไปในชีวิตของท่าน ได้ทราบถึงสิ่งก่อสร้าง
และพืชพรรณไม้ที่มีอยู่ในวัดเทพธิดาในครั้งนั้น ตลอดจนพรรณนาถึงเครื่องปัจจัยไทยทาน ซึ่งนิยม
จัดทำถวายพระกันในสมัยนั้น ครั้นแล้วท่านก็พรรณนาเป็นฝันตื่นของท่านต่อไป มีการพานางในฝัน
ลงเรื่อพยนต์ไปชมทะเลและชมบ้านเมืองตามทางที่ผ่านไป ในตอนท้ายเป็นคำขอหรือวิงวอนและบอกว่า
บทกลอนที่ท่านแต่งนี้ "ชื่อรำพันพิลาป ล้ำกาพย์กลอน" พิจารณาดูคล้ายกับว่าท่านสุนทรภู่มุ่งหมาย
แต่งเพื่อให้ใครอ่านสักท่านหนึ่ง แต่จะได้ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงหรือเหล่า ถึงบัดนี้
เวลาก็ล่วงเลยมาเสียนานแล้ว จึงเป็นการยากที่จะทราบ
                      
     ต้นฉบับ "รำพันพิลาป" ที่นำมาเป็นฉบับพิมพ์มีอยู่ 1 เล่มสมุดไทย พระยาราชสมบัติ (เอิบ บุรานนท์)
ได้นำมามอบให้ไว้แก่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 นอกจากจะบรรยายถึง
รายละเอียดให้เราได้ทราบประวัติของท่านสุนทรภู่เพิ่มเติมแล้ว เรื่องรำพันพิลาปยังช่วยให้เราได้
มองเห็นจินตนาการอันลี้ลับของท่านที่น่าสนใจ แม้จะได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เคยมี
ท่านผู้ใดศึกษาวิจัยเฟ้นหาข้อเท็จจริงกันมาแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงลองศึกษาค้นคว้าและสร้างจินตนาการ
ไปตามบทกลอน ก็รู้สึกเพลิดเพลินไปตามท้องเรื่องที่ท่านสุนทรภู่รำพันไว้ แล้วคิดใคร่จะให้ท่านผู้สนใจ
ได้รับความเพลิดเพลินเช่นนั้นบ้าง จึงพยายามบันทึกหมายเหตุเป็นเชิงอรรถไว้ในหน้านั้นๆ พอเป็นแนวทาง
เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ลองสร้างจินตนาการไปตามท้องเรื่องดูบ้าง แต่ถ้าเห็นว่าบันทึกที่ทำเป็นเชิงอรรถไว้นั้นไร้สาระ
ก็ขอได้โปรดให้อภัยและอย่าได้ถือสาเอาเป็นสาระ โปรดถือเสียว่าเป็นแต่เพียงความเห็น
และความรู้สึกของผู้อ่านคนหนึ่งที่สนใจ             

     ณ อภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิดของท่านสุนทรภู่ เวียนมาบรรจบครบ 175 ปี ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน
พ.ศ. 2504 นี้ ข้าพเจ้าขอเชิญชวนท่านที่เคารพทั้งหลาย ได้โปรดร่วมใจน้อมคารวะจิตรำลึก ด้วยสำนึกใน
กิตติคุณอันสูงส่งของท่านมหากวีผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ซึ่งได้สร้างสมบัติวรรณกรรมอันไพเราะเพราะพริ้งและหาค่ามิได้
ไว้เป็นอลังการอันเจิดจ้าของชาติไทย และเป็นอาภรณ์ประดับดวงใจของปวงชนชาวไทยให้
พริ้งเพริดเฉิดฉายชั่วนิตยนิรันดร


กรมศิลปากร
23 มิถุนายน 2504




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ