ReadyPlanet.com
dot dot

รวมบทความของสมาชิก และเรื่องที่น่าอ่านทางวรรณกรรม



คำฉันท์ (๘)

 คำฉันท์มหาชาติ เข้าใจว่าเห็นจะมีทั้ง ๑๓ กัณฑ์ แต่ที่ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครรวบรวมได้ไว้ยังไม่ครบ สังเกตดูฉบับที่ได้ไว้ สำนวนแต่งดูเหมือนจะแต่งในรัชกาลที่ ๒ ละรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ เป็นสำนวนที่แต่งดีทุกกัณฑ์ แต่หาทราบชื่อผู้แต่งได้หมดไม่ ที่ทราบได้บางกัณฑ์เป็นสำนวนเจ้านายผู้หญิงทรงพระนิพนธ์ก็มี ดังเช่นคำฉันท์กัณฑ์กุมาร ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา ทรงพิมพ์ประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์เมื่อ พ.ศ ๒๔๖๖

คำฉันท์ (๗)

เมื่อเริ่มเขียนบทความชุด “คำฉันท์” วางแผนงานไว้ว่า จะเขียนแนะนำวรรณคดีคำฉันท์ไล่เรียงมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เขียนไปเรื่อย ๆ ให้เห็นพัฒนาการของฉันทลักษณ์ฉันท์ และจะสอดแทรกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในสังคมยุคนั้น ๆ ที่ข้าพเจ้ามีข้อมูลใหม่ ๆ แปลก ๆ เอาไว้ด้วย เป็นต้นว่า นำเอาฉากบรรยายการคล้องช้างในวรรณคดีลาว(อีสาน)มาเล่าเสริมเรื่องการคล้องช้างใน “สมุทรโฆษคำฉันท์” ไว้ด้วย

คำฉันท์ (๖)

 ขอเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

คำฉันท์ (5)

 “อนิรุทธคำฉันท์” มีคำฉันท์มากประเภทกว่าเรื่อง “เสือโคคำฉันท์” และสำนวนก็ไพเราะกว่าด้วย ฉากบรรยายป่า ล่าสัตว์ ฉากอุ้มสม ฉากวาดรูป จนถึงฉากพระเจ้ากรุงพาณออกรบจับพระอนิรุทธมัดประจานไว้หน้าพระลาน มีฉันท์ไพเราะหลายบท แต่ขอข้ามไป จะยกตัวอย่าง “สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19” ตอนที่นางอุษารำพัน ขอให้สังเกตว่า คำส่งสัมผัสนั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสคำท้ายวรรค

คำฉันท์ (4)

วรรณคดีประเภทฉันท์ที่อ่าน “มัน” มาก ตามความชอบส่วนตัวของข้าพเจ้าคือเรื่อง “อนิรุทธคำฉันท์” เพราะมีเรื่อง “เทพ” รบกันเอง พระกฤษณะ ซึ่งคือพระนารายณ์อวตารมาอยู่เมืองมนุษย์ รบกับพาณาสูรราชซึ่งเป็นยักษ์ แต่พระอิศวรดันมาช่วยพาณาสูรราช รบกับมนุษย์ (พระกฤษณะ) แล้วยังเอาชนะพระกฤษณะ(มนุษย์)ไม่ได้ หมดทางเข้าก็จะใช้ “ตาที่สาม”

คำฉันท์ (3)

เมื่อหลวิชัยและคาวีกราบลาจากพระฤาษีแล้ว ก็เดินไพร ประพันธ์ใช้อินทรวิเชียรฉันท์บรรยายพืชพรรณไม้และหมู่นก ความยาว 30 บท คนอ่าน-ฟังก็ลื่นไหล เพราะคุ้นเคยฉันทลักษณ์ดี แต่พอถึงฉากบรรยายสัตว์ป่า พระมหาราชครูเลือกใช้วสันตดิลกฉันท์ 14 ซึ่งอ่าน-ฟังยากขึ้น ซึ่งท่านก็แต่งไว้เพียง 8 บทเท่านั้น ดังนี้

คำฉันท์ (2)

เสือโคคำฉันท์เป็นฝีมือพระมหาราชครู คนเดียวกับที่แต่งสมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้นเรื่อง  เรื่องเสือโคคำฉันท์นั้นแปลงมาจากเรื่องในปัญญาสชาดก เนื้อเรื่อจึงสนุกกว่า และพระมหาราชครูใช้ฉันทลักษณ์ ฉบัง 16 กับ สุรางคนางค์ 28 จึงอ่านง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ แต่เราลองมาอ่าน “ฉันท์” แท้ๆ ในเสือโคคำฉันท์กันสักตอน

 
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)

ข้าพเจ้ารู้สึกทันที่ว่า น่าจะรวมวรรณคดีไว้มากกว่านี้ ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะเขียนแนะนำวรรณคดีเพิ่มเติมอย่างย่อ ๆ จึงพลิกหนังสือรอบ ๆ ตัวที่หยิบมาได้สะดวก ไล่เรียงคร่าว ๆ ได้ชื่อวรรณคดีเพิ่มอีกนิดหน่อย ภายในวันเดียวก็ยังได้เพิ่มขึ้นหลายเล่ม 

คำฉันท์ (1)

 มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเป็นกรณีศึกษาอยู่คำหนึ่งคือคำว่า กังวล (ไท้นฤกัง – วละอย่างไร) กังวล เป็นคำเขมร (กังวล ก. ห่วงใย, มีใจพะวงอยู่. (ข) – พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน), คำศัพท์ที่จะ ทีฆะ – ทำสระเสียงสั้นให้เป็นสระเสียงยาว หรือ รัสสะ-ทำสระเสียงยาวให้เป็นสระเสียงสั้น และการแตก,กระจายคำออกเป็นพยางค์สั้นๆ เพื่อใช้เป็นคำ ลหุ คำนั้นๆ ต้องเป็นคำที่มาจากภาษา บาลี – สันสกฤต 

ฉากรบใน “ดาหลัง”

บทละครเรื่อง “ดาหลัง” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเรื่องอ่านสนุก แม้จะมีเรื่องราวการสงครามสลับกับฉากรักอยู่หลายครั้ง แต่บทกลอนที่บรรยายฉากสงครามมีไม่มากและก็ไม่ดุดันหวาดเสียว มีฉากที่ยาวที่สุด คือตอน “ทหารเอกของปันหยี ยกกองทัพไปตีเมืองตระเส” ระตูตระเส เจ้าเมืองตระเสยกกองทัพออกสู้รบกับกองทัพทหารเอกปันหยี บทละครบรรยายดังนี้ เมื่อระตูตระเส ยกทัพออกนอกเมืองก็พบกับกองทัพของปันหยี

หน้า 1/14
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14  [ถัดไป]
[Go to top]



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ